วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

บิลที่ได้รับมาจากทางร้านเป็นบิลเงินสดระบุที่อยู่ร้านและชื่อร้าน แต่ทางมหาวิทยาลัยบอกว่า บิลไม่ผ่าน โดยให้ไปขอให้ทางร้านที่ไปซื้อเขียนเลขบัตรประจำตัวประชาชนลงในบิลเงินสด

Inbox: ศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 22:29 น.
คุณ Rattana Saosurin
สวัสดีค่ะ
พอดีทำโครงการแล้วต้องซื้อของโดยใช้งบจากทางมหาวิทยาลัย ซึ่งบิลที่ได้รับมาจากทางร้านเป็นบิลเงินสดระบุที่อยู่ร้านและชื่อร้าน แต่ทางมหาวิทยาลัยบอกว่า บิลไม่ผ่าน โดยให้ไปขอให้ทางร้านที่ไปซื้อเขียนเลขบัตรประจำตัวประชาชนลงในบิลเงินสด ในกรณีนี้ อยากทราบว่าการให้เขียนเลขบัตรประจำตัวประชาชนลงในบิลเงินสดนี้จำเป็นไหมคะ ไม่เข้าใจว่า ทำไมจะต้องเขียน แล้วถ้าเขียนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีแทนจะได้ไหมคะ แล้วร้านค้าปกติ(ร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่)เขาจะมีเลขปนะจำตัวผู้เสียภาษีไหมคะ เพราะส่วนมากเขาจะไม่ให้เลขบัตรประชาชนค่ะ กังวลมากๆ ว่า บิลจะไม่ผ่านค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ตามมาตรา 105 และมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
....“มาตรา 105 ในกรณีต่อไปนี้ ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้รับเงิน หรือผู้รับชำระราคาต้องออกใบรับให้แก่ผู้ซื้อ ผู้เช่าซื้อ ผู้จ่ายเงินหรือผู้ชำระราคา ในทันทีทุกคราวที่รับเงินหรือรับชำระราคาไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ออกใบรับหรือไม่ก็ตาม
........(1) การรับเงินหรือรับชำระราคาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด 4 และการรับเงินหรือรับชำระราคาจากการกระทำกิจการของผู้ประกอบกิจการที่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 ซึ่งรวมเงินหรือราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้งเกินจำนวนเงินตามที่อธิบดีกำหนด แต่อธิบดีจะกำหนดเกินหนึ่งพันบาทไม่ได้
........(2) การรับเงินหรือรับชำระราคาในกรณีอื่นซึ่งรวมเงินหรือราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้งเกินจำนวนเงินตามที่อธิบดีกำหนด แต่อธิบดีจะกำหนดเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้
........ถ้าการรับเงินหรือรับชำระราคาในกรณีเดียวกันมีจำนวนเกินกว่าที่อธิบดีกำหนด ตาม (1) หรือ (2) แต่มีเงื่อนไขให้รับเงินหรือรับชำระราคาในภายหลังเป็นหลายงวด ให้ออกใบรับทุกคราวในทันทีที่รับเงินหรือรับชำระราคานั้น
........ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งได้ออกใบกำกับภาษีที่มีข้อความแสดงว่าได้รับเงินหรือรับชำระราคาแล้ว จะถือเอาใบกำกับภาษีนั้นเป็นใบรับที่ต้องออกตามมาตรานี้ก็ได้
มาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การจำหน่ายแสตมป์อากร หรือแสตมป์อื่นของรัฐบาลที่ยังมิได้ใช้
(ดู ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 34) ประกอบ)
....มาตรา 105 ทวิ ในการออกใบรับ ให้ผู้มีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 (1) หรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 (2) เฉพาะผู้ซึ่งกระทำเป็นปกติธุระ ทำต้นขั้วหรือสำเนาใบรับ และเก็บต้นขั้วหรือสำเนาใบรับดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่ออกใบรับ
........ถ้าปรากฏว่าการรับเงินหรือรับชำระราคาที่ต้องทำต้นขั้วหรือสำเนาใบรับตามวรรคหนึ่ง ไม่มีต้นขั้วหรือสำเนาใบรับ ให้สันนิษฐานว่าไม่ได้ออกใบรับ
........ใบรับและต้นขั้ว หรือสำเนาใบรับตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องมีตัวเลขไทยหรืออารบิค และอักษรไทยให้ปรากฏข้อความต่อไปนี้
........(1) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ
........(2) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ
........(3) เลขลำดับของเล่มและของใบรับ
........(4) วันเดือนปีที่ออกใบรับ
........(5) จำนวนเงินที่รับ
........(6) ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า ในกรณีการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้า เฉพาะชนิดที่มีราคาตั้งแต่หนึ่งร้อยบาทขึ้นไป
........ในกรณีผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือผู้ขายส่ง ขายสินค้าให้แก่ผู้ซึ่งทำการค้าสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าที่ขายนั้น ให้แสดงชื่อหรือยี่ห้อและที่อยู่ของผู้ซื้อไว้ในใบรับที่ต้องออกตามวรรคหนึ่งด้วยทุกคราวที่ได้รับชำระเงินหรือรับชำระราคา ข้อความในใบรับเช่นว่านี้ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ
........ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กิจการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”
(ดู กฎกระทรวง ฉบับที่ 141 (พ.ศ. 2521) ประกอบ)
(ดู ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 23) ประกอบ)
....ในปัจจุบันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 3) ได้กำหนดว่า “กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีและใช้เลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนนั้นในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามแบบที่อธิบดีกำหนด”
ดังนั้น เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรสำหรับคนไทยทั่วไป ได้แก่ เลฃประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร นั่นเอง และควรศึกษาบทบัญญัติมาตรา 105 และมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อนำไปชี้แจงผู้ออกใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสดให้เข้าใจต่อไปด้วยครับ

สอบถาม เรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่กำลังร้อนแรงอยู่ในเวลานี้ ดังนี้ครับ

์Inbox: 9 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 16:40 น.
อาจารย์ Phalachai Fookaittiphong
เรียน อาจารย์สุเทพที่เคารพ
ผมขอสอบถาม เรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่กำลังร้อนแรงอยู่ในเวลานี้ ดังนี้ครับ
*กรณี นาย ก ผ่อนบ้านอยู่กับธนาคาร*
- จะถือว่าใครเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี (มาตรา 9) ครับ ธนาคาร หรือ นาย ก.
- ถ้า นาย ก. เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี และมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้าน จะได้รับการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษี ไม่เกิน 10 ล้าน ตามมาตรา 41 หรือไม่ครับ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีนาย ก. ซื้อบ้านจัดสรรจากบริษัทเจ้าของโครงการ แต่เงินทุนไม่เพียงพอจึงกู้ยืมเงินจากธนาคาร โดยจดจำนองบ้านไว้เป็นประกันการกู้ยืมเงินจากธนาคารดังกล่าว เช่นนี้ กรรมสิทธิ์ของบ้านนั้น เป็นของ นาย ก. หากจะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัํญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 นาย ก. จึงต้องมีภาระที่ต้องเสียภาษีดังกล่าว
...."มาตรา 9 ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของหรือครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ในวันที่ 1 มกราคมของปีใด เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีส าหรับปีนั้น ตามที่ก าหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้"
ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัํญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 กำหนดยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลธรรมดาดังนี้
...."มาตรา 41 ในกรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น ให้ได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีในการค านวณภาษีไม่เกินห้าสิบล้านบาท
........ในกรณีที่บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน และใช้สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น ให้ได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีในการค านวณภาษีไม่เกินสิบล้านบาท
........ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศก าหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อคำนวณการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
........มิให้นำความในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองมาใช้บังคับกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น ซึ่งต้องย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านดังกล่าว เพราะเหตุจำเป็นทางราชการตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด โดยให้ถือเอาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างก่อนการย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีในการค านวณภาษีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง"
ดังนั้น กรณีนาย ก. เป็นเจ้าของบ้าน และเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หากใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น ให้ได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท ตามมาตรา 41 วรรคแรก แห่งพระราชบัํญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
ขอแนะนำ สรุปภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
https://www.itax.in.th/…/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%…

เงิน 1 ล้านบาทที่บริษัทต่างประเทศโอนคืนค่าสำรองจ่ายค่าน้ำมันต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าต่างประเทศไหมคะ..และบางครั้งจะฝากดูแลค่ารักษาพยาบาลลูกเรือด้วยค่ะ ไม่ทราบจะต้องออกใบกำกับหรือบันทึกเป็นเงินสำรองจ่ายลูกค้าต่างประเทศค่ะ

Inbox: ศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 20:51 น.
คุณ บุญเหลือ วรรณเมธี
กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ
ดิฉันมีเรื่องจะเรียนถามอาจารย์ คะ (ค่ะ - ต้องการไม้เอกด้วย)
ทำธุรกิจรับจ้างขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือ มีบางรายการที่เจ้าของเรือต่างประเทศโอนเงินมาให้เพื่อฝากให้ลูกเรือที่อยู่ประเทศไทย และฝากเติมน้ำมันเรือ 1 ล้านบาท โดย 1 ล้านบาททางบริษัทฯ ได้ออกใบเสร็จพร้อมใบกำกับภาษีเป็นชื่อบริษัทในประเทศไทยค่ะ อยากสอบถามว่าเงิน 1 ล้านบาทที่บริษัทต่างประเทศโอนคืนค่าสำรองจ่ายค่าน้ำมันต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าต่างประเทศไหมคะ..และบางครั้งจะฝากดูแลค่ารักษาพยาบาลลูกเรือด้วยค่ะ ไม่ทราบจะต้องออกใบกำกับหรือบันทึกเป็นเงินสำรองจ่ายลูกค้าต่างประเทศค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีรับเงินทดรองจ่ายจากเจ้าของเรือต่างประเทศ นั้น
1. หากไม่ประสงค์จะให้เจ้าของเรือต่างประเทศรู้ต้นทุน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ของบริษัทฯ ว่าเป็นจำนวนเท่าใด จึงได้ออกใบกำกับภาษีรวมทั้งก้อน ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกินจำเป็นอยู่บ้าน แต่ก็เป็นไฟท์บังคับให้ต้องดำเนินการเช่นนั้น
....บริษัทฯ อาจมีกำไรมาก ก็เกรงเจ้าของเรีอต่างประเทศจะว่าเอา หรือ
....หากบริษัทฯ ขาดทุนก็ต้องเจอกับเจ้าพนักงานสรรพากรได้
....เรียกว่า โดนทั้งขึ้น ทั้งล่อง เนื่องเพราะความไม่โปร่งใส
2. กรณีที่มีความชัดเจนว่า จ่ายเงินทดรองจ่ายแทนเจ้าของเรือเป็นจำนวนเท่าใด มีค่าบริการระหว่างกันเท่าใด (อาจกำหนดค่าบริหารจัดการเป็น % ของค่าใช้จ่าย) เช่นนี้ ในส่วนของเงินทดรองจ่ายที่รับมา บริษัทฯ ก็ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี เพียงแต่ให้เอกสารหลักฐานการจ่ายเงิน เพื่อทำ Reimbursement ให้แก่เจ้าของเรีอต่างประเทศ
....บริษัทฯ มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีเฉพาะค่าบริการเท่านั้น
....กรณีเช่นนี้ ก็จะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่ควรจะเป็น ครับ

การออกใบกำกับภาษีอย่างย่อค่ะ ถ้าเราออกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมบัญชีเราต้องขออนุญาตจากกรมสรรพกรมั้ยค่ะ

Inbox: 6 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 19:23 น.
คุณ Warawan Loessungnoen
อาจารย์ค่ะ (คะ- ไม้ต้องมีไม้เอก) ขอสอบถามการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อค่ะ ถ้าเราออกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมบัญชีเราต้องขออนุญาตจากกรมสรรพกรมั้ยค่ะ (คะ- ไม่ต้องมีไม้เอก)
ขอบคุณค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
การจัดทำใบกำกับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
ในส่วนของใบกำกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร คือ ใบกำกับภาษีอย่างย่อที่ออกด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (Cash Register) ที่ต่อเชือมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร เท่านั้นครับ

ใบที่จ่ายภาษีไม่ตรงกับเลขที่ยัตรประชาชนเรา..เราควรทำไงดีค่ะ

Inbox: อาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2562 เวลา 11:27 น.
คุณ สุกัญญา หลวงสนาม
อ. ค่ะ (คะ- ไม่ต้องมีไม้เอก) พอดีเราเปิดร้านค้าค่ะ...มีเพื่อนยืมร้านค้าเราเพื่อไปทำงาน.
เราก็เชนเอกสารให้ทุกอย่างค่ะ..ออกใบเสร็จทุกอย่างพอจะจ่ายภาษีหมู่บ้านบอกว่าจะจ่ายเอง..แต่พอเราจะเอาเอกสารมายื่น..ใบที่จ่ายภาษีไม่ตรงกับเลขที่ยัตรประชาชนเรา..เราควรทำไงดีค่ะ
แต่สรรพากรก็มีข้อมูลว่าหักเงินจากเราโครงการนี้..ช่วยบอกทีค่ะ
แก้ไขได้ยังไงค่ะอาจารย์เวลาเรายื่นภาษีค่ะ
ผญ.บ้านบางคนลักไก่ค่ะยืมเอกสารเราไปยื่นประกบ...แต่บอกเราว่าไม่ได้เอาไปทำงาน..แต่ไปตรวจสอบสรรพากรเราเป็นคนทำงาน..หนูก็ไปถามหาใบหัก ณ ที่จ่าย..พอถามก็เอาให้ค่ะ..แต่เป็นชื่อตัวเอง...แบบนี้ก็มีค่ะ หนูไปตรวจสิบมามี 2 โครงการค่ะ..200,000+200,000 บาท ค่ะหนูควรทำไงดีค่ะอาจารย์
คนแบยนี้ก็มีค่ะ...หนูกำลังเจอค่ะ..อาจารย์ช่วยหาทางออกให้แฟนหนูที..ส่วนมากก็จะเป็นงานปกครองค่ะ..งานที่ ผญ.บ้านทำเองแต่เอกสารไม่ค่อยคล่องค่ะ..เราก็ พึ่งรู้ ด้วย ค่ะ..
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
โบราณว่า คบคนพาล พานพาไปหาผิด ครับ ไม่พึงให้คนอื่นยืมชื่อร้านค้าไปทำงานในชื่อของเรา มักจะมีปัญหาตามมา เห็นมาเยอะแล้ว แบบนี้น่ะครับ แล้วในที่สุดความเดือดร้อนก็ตกที่เรา เพราะตามกฎหมายสรรพากรมีข้อกฎหมายแบบนี้ด้วย คือ
....“มาตรา 61 บุคคลใดมีชื่อในหนังสือสำคัญใด ๆ แสดงว่า
........(1) เป็นเจ้าของทรัพย์สินอันระบุไว้ในหนังสือสำคัญ และทรัพย์สินนั้นก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน หรือ
........(2) เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินโดยหนังสือสำคัญเช่นว่านั้น
........เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากผู้มีชื่อใน หนังสือสำคัญนั้นก็ได้ แต่ถ้าบุคคลนั้นต้องโอนเงินได้พึงประเมินให้แก่บุคคลอื่น บุคคลนั้นมีสิทธิหักเงินภาษีจากจำนวนเงินซึ่งต้องโอนให้แก่บุคคลอื่นตามส่วน”
แต่เมื่อตกกระได ก็ต้องพลอยโจนลงไป แล้วครับ หาหลักฐานมาสนับสนุนว่า มีรายได้จากกิจกรรมใดเป็นจำนวนเท่าใด โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่สามารถกระทำได้ แล้วจัดการเสียภาษีเงินได้ไปให้ถูกต้องครับ
แต่พึงระมัดระวังมิให้ใครมายืมชื่อร้านค้าไปทำธุรกิจที่ไม่ใช่รายได้ของเราอีก
แนะนำให้เขาทำเอง หรือถือเป็นโอกาสรับทำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี่ และชำระภาษีติดต่อสรรพากรแทนให้เสียเลยครับ

จะจดทะเบียนบริษัททำในด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยจะใช้โฉนดที่ดิน (ชื่อตัวเอง) เป็นทุนจดทะเบียนบริษัท จะต้องมีขั้นตอนในการดำเนินการและการเตรียมเอกสารอย่างไรบ้างคะ จะทำเรื่องขอจดเองแบบออนไลน์ค่ะ

Inbox: อาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2562 เวลา 11:46 น.
คุณ Sasinicha Jan
สวัสดีค่ะอาจารย์ ขอเรียนสอบถามอาจารย์ค่ะ
กำลังจะจดทะเบียนบริษัททำในด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยจะใช้โฉนดที่ดิน (ชื่อตัวเอง) เป็นทุนจดทะเบียนบริษัท จะต้องมีขั้นตอนในการดำเนินการและการเตรียมเอกสารอย่างไรบ้างคะ จะทำเรื่องขอจดเองแบบออนไลน์ค่ะ
กราบขอบพระคุณค่ะ🙏
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ลองเข้าไปที่เวบไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
บริการออนไลน์ - DBD : กรมพัฒนาธุรกิจการค้าhttps://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=2
จากนั้น เลือกหัวข้อ ระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) 101491 ภายใต้ หัวข้อการจดทะเบียนธุรกิจ
https://ereg.dbd.go.th/ERegistMem…/nonmemberpages/home.xhtml
สามารถ download คู่มือการลงทะเบียนผู้ใช้งานเพื่อใช้บริการระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ มาศึกษาได้ก่อน
https://drive.google.com/…/0B4n_XKC9i3mUanEtOUxZb2V3UGM/view
ลองดูนะครับ สายกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไม่ใช่ field ของผมครับ

บริษัทจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ธุรกิจซื้อมาขายไป มีซื้อสินค้าจากประเทศจีน

Inbox: จันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 22:57 น.
คุณ Rungtip Jiamphol
เรียนถาม อ.สุเทพ
บริษัทจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ธุรกิจซื้อมาขายไป มีซื้อสินค้าจากประเทศจีน ในวันที่ 15 ก.พ. นำเข้าสินค้ามีผ่านพิธีการศุลกากรและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อมากิจการได้นำเอกสารและใบเสร็จศุลกากร ไปยื่นแบบ ภ.พ.30 โดยใช้ยอดสินค้าและภาษีในเอกสารศุลกากรไปแสดงในแบบ ภ.พ.30 ยื่นในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยไม่ได้ใช้แบบ ภ.พ.36 และราคาสินค้าและฐานภาษีปฏิบัติแบบนี้ถูกต้องไหม ทั้งนี้ การซื้อสินค้ายังไม่ได้จ่ายชำระเงินครบกำหนด 15 เม.ย. เพราะมีเครดิต 60 วัน
ขอบพระคุณอาจารย์สุเทพ มา ณ ที่นี้
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบธุรกิจซื้อมาขายไป มีซื้อสินค้าจากประเทศจีน ในวันที่ 15 ก.พ. นำเข้าสินค้ามีผ่านพิธีการศุลกากรและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อมากิจการได้นำเอกสารและใบเสร็จศุลกากร ไปยื่นแบบ ภ.พ.30 โดยใช้ยอดสินค้าและภาษีในเอกสารศุลกากรไปแสดงในแบบ ภ.พ.30 ยื่นในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยไม่ได้ใช้แบบ ภ.พ.36 นั้น
การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาเข้า ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรตามมาตรา 78/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยใช้ฐานภาษีตามมาตรา 79/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
....“มาตรา 79/2 ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้า ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
........(1) ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าทุกประเภท ได้แก่ มูลค่าของสินค้านำเข้า โดยให้ใช้ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ตามที่กำหนดในมาตรา 77/1(19) ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนและภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
.............การนำเข้าสินค้าที่ผู้นำเข้าได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่น ให้นำอากรขาเข้าซึ่งได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนดังกล่าวมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี
.............ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ได้แก่ราคาสินค้าบวกด้วยค่าประกันภัยและค่าขนส่งถึงด่านศุลกากรที่นำสินค้านั้นเข้าในราชอาณาจักร เว้นแต่
.............(ก) ในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศให้ราคาในท้องตลาด สำหรับของประเภทใดประเภทหนึ่งที่ ต้องเสียอากรตามราคาเป็นรายเฉลี่ยตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ให้ถือราคานั้นเป็นราคาสินค้าในการคำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ.
.............(ข)ในกรณีที่เจ้าพนักงานศุลกากรได้ทำการประเมินราคาเพื่อเสียอากรขาเข้าใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ถือราคานั้นเป็นราคาสินค้าในการคำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ.
และราคาสินค้าและฐานภาษีปฏิบัติแบบนี้ถูกต้องไหม ทั้งนี้ การซื้อสินค้ายังไม่ได้จ่ายชำระเงินครบกำหนด 15 เม.ย. เพราะมีเครดิต 60 วัน”
ดังนั้น บริษัทฯ ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แม้จะยังได้ชำระราคาสินค้า แต๋ก็สามารถใช้สิทธิในภาษีซื้อตามที่จ่ายให้แก่กรมศุลกากรได้

การยื่นแบบ ภงด ของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในเดือนภาษีเดียวกัน ของสาขาทางภาษี (สำนักงานใหญ่) แบบนี้ทำได้หรือไม่ค่ะ?

Inbox: อังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 07:59 น.
คุณ Khemisara Boonsing
เรียน ท่านอาจารย์สุเทพ ที่เคารพ
รบกวนสอบถามท่านอาจารย์เกี่ยวกับ
การยื่นแบบ ภงด ของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในเดือนภาษีเดียวกัน ของสาขาทางภาษี (สำนักงานใหญ่) แบบนี้ทำได้หรือไม่ค่ะ? 
1. ยื่น ภงด 1 ด้วยกระดาษ
ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
2. ยื่น ภงด 3 และ 53 ด้วย internet
ภายในวันที่ 7 + 8 ของเดือนถัดไป
ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มีสิทธิกระทำเช่นนั้นได้ เพราะเป็นคนละแบบ และคนละประเภทภาษีเงินได้
อย่างไรก็ตาม หากกิจการได้มีการใช้สิทธิจดแจ้งเพื่อขอยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และค่าปรับทางอาญาตามพระราชบัญญัติ ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการ เกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนำส่งภาษี และแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงิน สำหรับภาษีอากรทุกประเภท ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ครบถ้วน สำหรับการยื่นแบบตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เว้นแต่ มีเหตุอันสมควรตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด มิฉะนั้น ให้หมดสิทธิได้รับยกเว้นเบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่ม ดังนี้
....“มาตรา 7 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามมาตรา 4 ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนำส่งภาษี และแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงิน สำหรับภาษีอากรทุกประเภท ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ครบถ้วน สำหรับการยื่นแบบตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เว้นแต่ มีเหตุอันสมควรตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
........กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้หมดสิทธิได้รับยกเว้นเบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่มตามมาตรา 4 และให้กรมสรรพากรดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวข้องต่อไป”

ข้าราชการได้รับเงินบำนาญ เงินบำนาญดังกล่าวจะต้องนำมาคำนวณภาษีหรือไม่ ข้าราชการเลือกรับเงินบำเหน็จในตอนที่เกษียณอายุราชการ ต้องเสียภาษีหรือไม่

Inbox: อาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2562 เวลา 15:41 น.
คุณ Phalachai Fookaittiphong
เรียนท่านอาจารย์สุเทพที่เคารพ
ผมขอสอบถามว่า
1. กรณีข้าราชการได้รับเงินบำนาญ เงินบำนาญดังกล่าวจะต้องนำมาคำนวณภาษีหรือไม่ (มีความเข้าใจกันว่า ข้าราชการบำนาญไม่ต้องเสียภาษีครับ)
2. กรณีข้าราชการเลือกรับเงินบำเหน็จในตอนที่เกษียณอายุราชการ ต้องเสียภาษีหรือไม่
ขอขอบคุณอาจารย์ที่กรุณาให้ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์กับผู้เสียภาษีครับ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
1. กรณีข้าราชการได้รับเงินบำนาญ รวมทั้งเงินบำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินบำนาญดังกล่าวจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ความเข้าใจที่ว่า ข้าราชการบำนาญไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นความเข้าใจที่ผิดครับ)
2. กรณีข้าราชการเลือกรับเงินบำเหน็จตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ในตอนที่เกษียณอายุราชการ หรือลาออก ข้าราชการผู้นั้นได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (43) และ (44) ดังต่อไปนี้
....“(43) เงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป)
....“(44) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดังต่อไปนี้
........(ก) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับ เนื่องจากสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกจากราชการเพราะตาย เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือเหตุสูงอายุ
........(ข) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เนื่องจากสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกจากราชการในกรณีอื่นนอกจาก (ก) แต่เมื่อออกจากราชการแล้วได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจำนวนในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากสมาชิกผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรืออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 277 (พ.ศ. 2553) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป)
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก “เปรียบเทียบระบบบำเหน็จบำนาญกับระบบ กบข.”
https://www.gpf.or.th/thai20…/about/pension-thai-compare.asp

กิจการขอคืนภาษีตรวจเสร็จเรียบร้อยเจ้าหน้าที่สรรพากรแจ้งยอดคืนเงิน แต่สั่งให้ บริษัทฯ นี้ต้องปิดอากรแสตมป์พร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

Inbox: อาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2562 เวลา 20:01 น.
คุณ Patcharanun Thienwuttiwong
เรียน อาจารย์สุเสพ
ขอเรียนปรึกษา เรื่อง ภาษีอากรแสตมป์
บริษัทฯ ประกอบกิจการโรงกลึงรับจ้างทำงานตั่งแต่ปี 2548 ในรอบปีภาษี 2559 กิจการขอคืนภาษีตรวจเสร็จเรียบร้อยเจ้าหน้าที่สรรพากรแจ้งยอดคืนเงิน แต่สั่งให้ บริษัทฯ นี้ต้องปิดอากรแสตมป์พร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม โดยเจ้าหน้าที่ยึดคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.153/2559 ซึ่งบริษัทฯ ได้ชี้แจงว่า การจ้างงานเกิดขึ้นและเสร็จสิ้นแล้ว แต่บริษัทฯ ไม่ได้ ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ ทางเจ้าหน้าที่สรรพากรแจ้งว่ามีใบสั่งซื้อ/ใบสั่งจ้าง PO ของทางลูกค้าและลูกค้าเซ็นต์ชื้อใน PO (บริษัทฯ ไม่ได้เซ็นต์ชื่อใน PO) และบริษัทฯ ออกเอกสาร ใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้ ถือว่า เป็นเอกสารโต้ตอบกันก่อให้เกิดตราสราจ้างทำของ ดังนั้น ต้องปิดอากรแสตมป์ บริษัทฯ จึงทำหนังสือขอหารือส่งไปยังกรมสรรพากร และกรมส่งกลับมาสรรพากรภาค 5 มีใจความดังนี้ ...
เมื่อได้รับหนังสือข้อหารือ บริษัทฯ จึงแจ้งเจ้าหน้าที่ว่า ในข้อหารือแจ้งว่า ใบสั่งจ้าง/ใบสั่งซื้อ ,ใบแจ้งหนี้เป็นหนังสือโต้ตอบระหว่างกันและก่อให้เกิดตราสารจ้างทำของ. โดย บริษัทฯ มีเพียงใบสั่งจ้าง,ใบแจ้งหนี้ แต่ไม่มีตราสารจ้างทำของดังนั้น บริษัทฯ ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์.
และในขอหารือไม่ตอบคำถามที่ว่าให้ปิดอากรแสตมป์ที่ใด
เรื่องเกิดตั่งแต่เมย.61 ถึงขณะนี้ก็ยังไม่จบ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าจะออกใบประเมิณให้ไปจ่ายค่าอากร ถ้าไม่พอใจก็ให้ไปยื่นอุทธรณ์เองต่อไป
1. เรียนถามอาจารย์ว่า บริษัทฯ ต้องปิดอากรแสตมป์หรือไม่ค่ะ.
2. บริษัทฯ ควรยื่นอุทธรณ์ต่อไปหรือไม่ค่ะ
มีเอกสาร ใบ ต.6 ล่าสุดที่ได้ให้การไว้กับเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้…
ขอขอบคุณพระคุณอาจารย์ สุเทพสำหรับคำตอบล่วงหน้าค่ะ
เพิ่มเติมค่ะ บริษัทฯ ได้อ้างถึงข้อหารือ เลขที่ กค 0706/9301 ลงวันที่ 9/11/2549 แต่เจ้าหน้าที่ไม่รับฟังข้อหารือฉบับนี้
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 153/2559 เรื่อง การเสียอากรสำหรับตราสารการเช่าที่ดิน โรงเรื่องสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ และตราสารจ้างทำของ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียอากรแสตมป์ เฉพาะสำหรับตราสารสองลักษณะดังกล่าว คือ ตราสารการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามลักษณะตราสารที่ 1 และตราสารจ้างทำของตามลักษณะตราสารที่ 4 พร้อมทั้งยกตัวอย่างเพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ชัดแจ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นตราสารซึ่งเกิดขึ้นโดยมีหนังสือโต้ตอบกัน ตามมาตรา 109 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
....“มาตรา 109 สัญญาใดเป็นตราสารซึ่งเกิดขึ้นโดยมีหนังสือโต้ตอบกันและมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ถ้าพิสูจน์ได้ว่าหนังสือฉบับหนึ่งฉบับใดที่จำเป็นในการทำให้เกิดสัญญานั้นขึ้นได้ปิดแสตมป์ครบจำนวนอากรและขีดฆ่าแสตมป์แล้วให้ถือว่าสัญญานั้นได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว”
....ตามปกติหากคู่สัญญากระทำตราสารเป็นลายลักษณ์อักษรโดยชัดแจ้ง ก็ย่อมไม่เกิดเป็นประเด็นปัญหา เพราะมีการลงลายมือชื่อในตราสารทั้งสองฝ่าย รวมทั้งมีพยานลงนามรับรู้ถึงการ “กระทำ” ตราสารของคู่สัญญานั้นด้วย การมีหนังสือโต้ตอบกันจนเกิดเป็นตราสารนั้น เป็นผลมาจากหลักในการทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวคือ
....สาระสำคัญของสัญญา
....1. ต้องมีบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
....2. ต้องมีการแสดงเจตนาเป็นคำเสนอคำสนองตกลงตรงกัน ยินยอมกัน
....3. ต้องมีวัตถุประสงค์
....คำเสนอ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาตอบ ถ้าข้อความที่แสดงเจตนาออกมานั้นตรงกันกับคำเสนอ เรียกนิติกรรมฝ่ายหลังว่า คำสนอง เกิดเป็นสัญญาขึ้น มีลักษณะดังนี้
........คำเสนอเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวเกิดจากการแสดงเจตนาของผู้ทำคำเสนอต่อบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้รับคำเสนอ
........คำเสนอจะต้องมีข้อความแน่นอนชัดเจนพอที่จะให้ถือเป็นข้อผูกพันก่อให้เกิดเป็นสัญญา
........คำทาบทาม ที่มีขึ้นเพื่อให้มีการเจรจาที่จะทำสัญญากันต่อไป และแตกต่างกับคำเชื้อเชิญ คำเชื้อเชิญจะมีลักษณะเป็นคำขอที่ให้อีกฝ่ายหนึ่งทำคำเสนอเข้ามา
........การแสดงเจตนาทำคำเสนอจะทำด้วยวาจาก็ได้ เป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยกริยาอาการอย่างใด ๆ ก็ได้
....คำสนอง คือ คำตอบของผู้รับคำเสนอต่อผู้เสนอโดยแสดงเจตนาว่าผู้รับคำเสนอนั้นตกลงเห็นชอบตามคำเสนอ “คำสนองต้องตรงกันกับคำเสนอ”
ที่มา: https://sites.google.com/…/kdh…/kdhmay-wa-dwy-nitikrrm-sayya
อนึ่ง คำว่า “กระทำ” นั้น ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า เมื่อใช้เกี่ยวกับตราสาร “กระทำ” หมายความว่า การลงลายมือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
....1. ตาม ข้อ 5 ตัวอย่างที่ (3) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 153/2559 มีรายละเอียดดังนี้ “บริษัท ก จำกัด ว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ซ่อมเครื่องถ่ายเอกสาร โดยบริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้าง ออกใบเสนอราคา (Quotation) ให้บริษัท ก จำกัด ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 แต่บริษัท ก จำกัด ไม่ได้ลงนามในใบเสนอราคาดังกล่าว ต่อมาบริษัท ก จำกัด ออกใบสั่งจ้าง (Purchase Order) แจ้งให้บริษัท ข จำกัด ทราบในวันที่ 1 มีนาคม 2559 ใบสั่งจ้างตามใบเสนอราคาเป็นหนังสือโต้ตอบระหว่างกันและก่อให้เกิดตราสารจ้างทำของ บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้าง จึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 มีนาคม 2559”
........กรณีตามตัวอย่างเป็นเอกสารที่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายแล้ว กล่าวคือ การลงลายมือชือในใบเสนอราคา (Quotation) ฝ่ายหนึ่ง ซึ่งถือเป็น “คำเสนอ” กับ การลงลายมือชื่อในใบสั่งจ้าง (Purchase Order) ถือได้ว่า เป็นหนังสือโต้ตอบกัน ที่ถือเป็นตราสาร “สัญญาจ้างทำของ” ที่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตามลักษณะตราสารที่ 4 แห่งบัญชีอัตราอากรแสดมป์ ท่ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว เพราะมีการลงลายมือชื่อในหนังสือโต้ตอบกันจนก่อนให้เกิดเป็นตราสารจ้างทำของขึ้น ตัวอย่างนี้ ชอบแล้ว
....2. ตาม ข้อ 5 ตัวอย่างที่ (4) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 153/2559 มีรายละเอียดดังนี้ “บริษัท ก จำกัด ว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ซ่อมหลังคาอาคารโรงงาน บริษัท ข จำกัด ได้ซ่อมหลังคาอาคารโรงงานตามที่ตกลงแล้วเสร็จในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ต่อมาบริษัท ก จำกัดออกใบสั่งจ้าง (Purchase Order) ให้แก่บริษัท ข จำกัด ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 และบริษัท ข จำกัด ออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) พร้อมแนบใบสั่งจ้างเรียกเก็บเงินจากบริษัท ก จำกัด ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ใบแจ้งหนี้ตามใบสั่งจ้างเป็นหนังสือโต้ตอบระหว่างกันและก่อให้เกิดตราสารจ้างทำของ บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้าง จึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 เมษายน 2559 นั้น
........ตามตัวอย่างข้างต้น เมื่อบริษัท ก จำกัด ว่าจ้างบริษัท ข จำกัด ซ่อมหลังคาอาคารโรงงาน บริษัท ข จำกัด ได้ซ่อมหลังคาอาคารโรงงานตามที่ตกลงแล้วเสร็จในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 สัญญาจ้างซ่อมหลังคาอาคารโรงงานจบสิ้นไปแล้ว สัญญาดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นตราสารจ้างทำของที่ต้องปิดอากรแสตมป์
........ต่อมาบริษัท ก จำกัด ออกใบสั่งจ้าง (Purchase Order) ให้แก่บริษัท ข จำกัด ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 เมื่อได้รับใบสั่งจ้างของงานที่เสร็จไปแล้ว ถือว่าเป็น “คำเสนอ” ตามสัญญาจ้างที่ได้ทำงานแล้วเสร็จไปแล้ว เมื่อบริษัท ข จำกัด ออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) พร้อมแนบใบสั่งจ้างเรียกเก็บเงินจากบริษัท ก จำกัด ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ใบแจ้งหนี้ตามใบสั่งจ้างจะเป็นหนังสือโต้ตอบระหว่างกัน ที่ก่อให้เกิดตราสารจ้างทำของที่ต้องปิดอากรแสตมป์ บริษัท ข จำกัด ผู้รับจ้าง จึงจะมีหน้าที่ต้องเสียอากรในวันที่ 1 เมษายน 2559
....การออกเอกสารใบสั่งจ้าง P/O ซึ่งโดยปกติทางการค้ามักจะได้รับคำสั่งก่อนลงมือทำ ที่ตามตัวอย่างได้กระทำงานเสร็จก่อน จึงค่อยออก P/O เพื่อให้สามารถลงรายการในบัญชีตามโปรแกรมบัญชีได้
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการโรงกลึงรับจ้างทำงานตั่งแต่ปี 2548 ในรอบปีภาษี 2559 กิจการขอคืนภาษีตรวจเสร็จเรียบร้อยเจ้าหน้าที่สรรพากรแจ้งยอดคืนเงิน แต่สั่งให้บริษัทฯ ต้องปิดอากรแสตมป์พร้อมเงินเพิ่ม โดยเจ้าหน้าที่ยึดคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.153/2559 ซึ่งบริษัทฯ ได้ชี้แจงว่า การจ้างงานเกิดขึ้นและเสร็จสิ้นแล้ว แต่บริษัทฯ ไม่ได้ ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ ทางเจ้าหน้าที่สรรพากรแจ้งว่า มีใบสั่งซื้อ/ใบสั่งจ้าง PO ของทางลูกค้าและลูกค้าเซ็นชื่อใน PO (บริษัทฯ ไม่ได้เซ็นต์ชื่อใน PO) และบริษัทฯ ออกเอกสาร ใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้ ถือว่า เป็นเอกสารโต้ตอบกันก่อให้เกิดตราสราจ้างทำของ นั้น
1. กรณีที่บริษัทฯ ต้องปิดอากรแสตมป์ ตามตัวอย่างในคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 153/2559 นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ว่างจ้างได้ออกใบสั่งซื้อ/ใบสั่งจ้าง PO โดยมีลายมือชื่อของผู้ว่าจ้างใน PO ที่ได้กระทำภายหลังจากที่บริษัทฯ ได้ทำงานให้ผู้ว่าจ้างแล้วเสร็จไปแล้ว โดยบริษัทฯ ออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) พร้อมแนบใบสั่งจ้างเรียกเก็บเงินกับผู้ว่าจ้าง เท่านั้น จึงขอให้พิจารณาประเด็นนี้ให้ชัดแจ้ง เพราะหากใบสั่งจ้างได้กระทำก่อนงานแล้วเสร็จ ก็หาใช้ประเด็นที่บริษัทฯ ต้องปิดอากรแสตมป์ แต่อย่างใด
2. บริษัทฯ ควรพิจารณาข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี และโต้แย้ง “พนักงานเจ้าหน้าที่” ไปก่อน ว่ามีกรณีที่ต้องปิดอากรแสตมป์ และไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ปนเปกันอยู่หรือไม่อย่างไร จากนั้น หากพนักงานเจ้าหน้าที่ยังแข็งขืนดึงดัน ที่จะออกคำสั่งให้เสีย (ไม่ใช่การประเมิน เพราะอากรแสตมป์ ไม่ใช่ภาษีอากรประเมิน) จึงค่อยยื่นอุทธรณ์ต่อไป

เงินทุกบัญชีรวมกัน หมายความรวมถึงทุกธนาคารรวมกันด้วยหรือไม่คะ หรือว่าทุกบัญชีรวมกันต่อ 1 ธนาคาร

Inbox: อาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2562 เวลา 20:16 น.
คุณ Ple Wichaisakul
อาจารย์คะ รบกวนสอบถามค่ะ
เกี่ยวกับกฏหมายธุรกรรมพิเศษ มีเงื่อนไข คือ
1. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่สามพันครั้งขึ้นไป
2. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งและมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินรวมกันตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป
คำถาม เงินทุกบัญชีรวมกัน หมายความรวมถึงทุกธนาคารรวมกันด้วยหรือไม่คะ หรือว่าทุกบัญชีรวมกันต่อ 1 ธนาคาร
ขอบคุณค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ตามมาตรา 3 สัตตรส แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะต่อกรมสรรพากรดังนี้
....“มาตรา 3 สัตตรส เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะในปีที่ล่วงมาเฉพาะที่อยู่ในความครอบครองต่อกรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
........(1) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
........(2) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
........(3) ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน
........ธุรกรรมลักษณะเฉพาะตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ธุรกรรมที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดในปีที่ล่วงมา ดังต่อไปนี้
........(1) ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่สามพันครั้งขึ้นไป
........(2) ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่สี่ร้อยครั้งและมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือ
รับโอนเงินรวมกันตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป
........รายการข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะที่ต้องรายงานตามวรรคหนึ่ง และวิธีการ รายงาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
........จำนวนครั้งหรือยอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินตามวรรคสอง ให้กำหนดเพิ่มขึ้นได้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้อธิบดีมีหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลที่ได้รับตามมาตรานี้และให้เก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่กรมสรรพากรได้รับข้อมูล”
จากบทบัญญัติดังกล่าว อาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
....1. เจตนารมณ์ในการบัญญัติบทบัญญัติมาตรา 3 สัตตรส แห่งประมวลรัษฎากร ปรากฏตามหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ดังนี้
........“เนื่องจากในปัจจุบันลักษณะในการทำธุรกรรมของภาคเอกชนได้ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ส่งผลให้การตรวจสอบและติดตามข้อมูลเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรในปัจจุบันไม่อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดังนั้น “เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร” จึงกำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะให้กรมสรรพากร
....2. ผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ ได้แก่
........(1) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
.............ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดนิยามศัพท์เกี่ยวกับ สถาบันการเงินไว้ดังนี้
.............“สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน และ (3) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
.............“ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์และให้หมายความรวมถึงธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
.............“ธุรกิจธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อ ซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด ซื้อขายเงิน
ปริวรรตต่างประเทศ
.............“บริษัทเงินทุน” บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน
.............“ธุรกิจเงินทุน” หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้ซึ่งมิใช่การรับฝากเงินหรือรับเงินไว้ในบัญชีที่จะเบิกถอนโดยใช้เช็ค และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ให้สินเชื่อซื้อขายตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใด
.............“บริษัทเครดิตฟองซิเอร์” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร
.............“ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์” หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกําหนดไว้และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
.............(ก) การให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจํานองอสังหาริมทรัพย์
.............(ข) การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝาก
........(2) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions : SFIs) หมายถึง สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐในการพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจ และสนับสนุนการลงทุนต่าง ๆ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังซึ่งได้มอบหมายให้ ธปท. ทำหน้าที่ตรวจสอบผลการดำเนินงานและความเสี่ยง และรายงานผลการตรวจสอบไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
.............สถาบันการเงินเฉพาะกิจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
.............(ก) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทำหน้าที่เป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินทั้งด้านเงินฝากและให้สินเชื่อ ซึ่งปัจจุบันมี 4 แห่ง คือ
..................1) ธนาคารออมสิน (Government Savings Bank)
..................2) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (Bank for Agriculture and Agricultural Co-operatives)
..................3) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (Government Housing Bank)
..................4) ธนาคารธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (Islamic Bank of Thailand)
.............(ข) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทำทำธุรกิจตามขอบเขตที่กำหนด เช่น ให้สินเชื่อหรือรับประกันสินเชื่อให้แก่ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ไม่รับเงินฝากจากประชาชนทั่วไป ซึ่งปัจจุบันมี 4 แห่ง คือ
..................1) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Export-Import Bank of Thailand)
.................2) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (Small and Medium Enterprise Development Bank of Thailand)
..................3) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (Thai Credit Guarantee Corporation)
..................4) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Secondary Mortgage Corporation)
........(3) ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน
.............“การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การโอนสิทธิครองเงิน หรือการโอนสิทธิการถอนเงิน หรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการที่เปิดไว้กับผู้ให้บริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการใช้ระบบต่าง ๆ ในการฝาก,ถอน,โอน หรือหักเงิน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ – อ้างอิงจาก พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยกาารควบคุมดูแลธุรกิจการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551
.............การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ต้องจดทะเบียนกับธปท. การให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) นั้นต้องมีการขึ้นทะเบียนกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธุรกิจ e-Payment ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธปท. ประกอบด้วยบริการ 8 ประเภท ดังนี้
..............1) บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)
..................e-Money หรือ เงินอิเล็กทรอนิกส์ คือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ให้บริการออกให้แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อใช้ชำระค่าสินค้า หรือทำธุรกรรมอื่น ๆ แทนเงินสด ตามมูลค่าของเงินที่ผู้ใช้บริการฝากไว้กับผู้ให้บริการ หรือที่เราอาจจะคุ้นกันในศัพท์ที่ว่า “e-Wallet” นั่นเอง
..............2) บริการเครือข่ายบัตรเครดิต
..................เครือข่ายบัตรเครดิต คือ เครือข่ายการให้บริการรับส่งข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิสก์ส่งต่อไปยังผู้ให้บริการบัตรเครดิตต่าง ๆ
..............3) บริการเครือข่ายอีดีซี (EDC Network)
..................เครือข่ายอีดีซี (EDC Network) คือ จุดเชื่อมต่อ หรือเครือข่ายของการให้บริการอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับการรับส่งข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัตรเครดิต บัตรเดบิต เงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
..............4) บริการสวิตช์ชิ่งในการชำระเงิน (Transaction Switching) คือ บริการเป็นศูนย์กลาง หรือจุดเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลรายการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ให้บริการตามที่ตกลงกัน
..............5) บริการหักบัญชี (Clearing) คือ บริการรับส่ง ตรวจสอบ และยืนยันข้อมูลตามคำสั่งการชำระเงิน รวมถึงการจัดการต่าง ๆ ให้กระบวนการชำระดุลระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนนี้สำเร็จลุล่วง
..............6) บริการชำระดุล (Settlement) คือ บริการระบบการชําระเงินที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ให้บริการหักเงินฝากของผู้ใช้บริการไปใช้ในการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้
..............7) บริการรับชำระเงินแทน คือ บริการรับชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเจ้าหนี้
..............8) การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่านทางเครือข่าย การบริการประเภทนี้จะเป็นการรับชำระเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่จะไม่มีการเก็บเงินไว้
....3. ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ หมายความว่า ธุรกรรมที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดในปีที่ล่วงมา ดังต่อไปนี้
........(1) ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป
........(2) ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินรวมกันตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป
........รายการข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะที่ต้องรายงานดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
........จำนวนครั้งหรือยอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงิน ให้กำหนดเพิ่มขึ้นได้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลที่ได้รับตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษากรนี้ และให้เก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่กรมสรรพากรได้รับข้อมูล
....4. วิธีการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะที่ต้องรายงาน
........วิธีการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะที่ต้องรายงาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
....รายการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน นั้น ในส่วนตัวเห็นว่า เป็นความหมายอย่างแคบ คือ เป็นรายการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีของผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ เพียงรายใดรายหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากผู้มีหน้าที่รายงานแต่ละรายไม่อาจทราบถึงข้อมูลรายการฝากหรือรับโอนเงินของผู้มีหน้าที่รายงานรายอื่นๆ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องรอความชัดเจนตามกฎหมายลูก คือ กฎกระทรวงออกตามความในประมวลรัษฎากร ที่จะได้ออกเพิ่มเติมต่อไป

บริษัทฯ ได้ให้คนต่างชาติ (พม่า) เข้ามาฝึกอบรมระบบการทำงาน เจ้าของกิจการก็จะจ่ายค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายต่างๆ (เหมือนรูปแบบเงินเดือนให้) การจ่ายก็อาจจะจ่ายสักสองเดือนแล้ว เขาก็กลับ ต่างประเทศนะครับ ทางกิจการต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไรบ้างครับ

Inbox: จันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 06:20 น.
คุณ Atiruj Sawet Arpha
สวัสดีครับ อ.สุเทพ ผมมีเรื่องสอบถามครับ
พอดี บริษัทฯ ได้ให้คนต่างชาติ (พม่า) เข้ามาฝึกอบรมระบบการทำงาน เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้า และระบบการขายต่างๆ เพื่อที่จะนำกลับไปเป็นแนวทางการทำงาน และสั่งซื้อสินค้าของบริษัทฯ ในอนาคต พอดีเจ้าของกิจการก็จะจ่ายค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายต่างๆ (เหมือนรูปแบบเงินเดือนให้) การจ่ายก็อาจจะจ่ายสักสองเดือนแล้ว เขาก็กลับ ต่างประเทศนะครับ
ทางกิจการต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไรบ้างครับ
ขอบพระคุณสำหรับคำตอบและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้ถูกต้องครับ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีบริษัทฯ ได้ให้ลูกค้าคนต่างชาติ (พม่า) เข้ามาฝึกอบรมระบบการทำงาน เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้า และระบบการขายต่างๆ เพื่อที่จะนำกลับไปเป็นแนวทางการทำงาน และสั่งซื้อสินค้าของบริษัทฯ ในอนาคต บริษัทฯ ตกลงจ่ายค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายต่างๆ (เหมือนรูปแบบเงินเดือนให้) การจ่ายก็อาจจะจ่ายสักสองเดือนแล้ว เขาก็กลับต่างประเทศ นั้น
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 1182/245 ได้กำหนดนิยามศัพท์ คำว่า “รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย” ไว้ดังนี้
....“รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย หมายถึง เงินอุดหนุน เงินสนับสนุน เงินช่วยเหลือ เงินส่วนลด หรือเงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายที่ซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินดังกล่าวจะคำนวณจากฐานการซื้อขายหรือคำนวณจากฐานอื่นใด เพื่อให้มีผลต่อการขาย การลดต้นทุน หรือลดรายจ่าย ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย”
....กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ได้ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อซึ่งได้ซื้อสินค้าไปโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ หรือตามพฤติการณ์ผู้ซื้อได้ซื้อสินค้าไปโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ เช่น ผู้ซื้อสินค้าเป็นผู้ประกอบการขายปลีกหรือขายส่งสินค้าหรือผู้แทนจำหน่าย เมื่อผู้ขายสินค้าดังกล่าวจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ซึ่งอาจเป็นสัญญาระยะยาว ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย (ข้อ 1 วรรคแรก ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545)
ดังนั้น เงินได้ที่บริษัทฯ ได้จ่ายให้ลูกค้าชาวพม่าดังกล่าว เข้าลักษณะเป็น “รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย” บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายดังกล่าว

ซื้อมือถือสมาร์ทโฟนราคาเครื่องละประมาณ 4,000 บาท จำนวน 30 เครื่อง ซึ่งในการใช้งานจริงในปัจจุบันอายุการใช้งานไม่น่าจะถึง 5 ปี ในกรณีเช่นนี้จะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายหรือเป็นทรัพย์สินเพื่อทยอยตัดค่าเสื่อมราคาดีค่ะ

Inbox: จันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 13:19 น.
คุณ Tor Potcha
สวัสดีค่ะอาจารย์
กราบเรียนถามเรื่องการซื้อมือถือสมาร์ทโฟนราคาเครื่องละประมาณ 4,000 บาท จำนวน 30 เครื่อง ซึ่งในการใช้งานจริงในปัจจุบันอายุการใช้งานไม่น่าจะถึง 5 ปี ในกรณีเช่นนี้จะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายหรือเป็นทรัพย์สินเพื่อทยอยตัดค่าเสื่อมราคาดีค่ะ
ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีบริษัทฯ ซื้อมือถือสมาร์ทโฟนราคาเครื่องละประมาณ 4,000 บาท จำนวน 30 เครื่อง เป็นเงิน 120,000 บาท ซึ่งในปัจจุบันอายุการใช้งานไม่ถึง 5 ปี นั้น
ในทางบัญชีอาจเลือก รับรู้เป็นค่าใช้จ่าย แต่ในทางภาษีต้องถือเป็นทรัพย์สิน และทยอยตัดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 3/2527

บริษัทฯ ให้เช่าซื้อรถยนต์มือสอง ลูกค้าจะไปซื้อรถที่เต้นรถ แล้วทำการติดต่อกับบริษัทฯ เพื่อทำสัญญาเช่าซื้อ บริษัทฯ บันทึกบัญชี ดังนี้

Inbox: จันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 14:48 น.
คุณ Sumrit Prapawong Ngeab
เรียน อ.สุเทพ
ผมมีเรื่องจะเรียนปรึกษาอาจารย์ดังนี้ครับ
กรณีเป็นบริษัทฯ ให้เช่าซื้อรถยนต์มือสอง ลูกค้าจะไปซื้อรถที่เต้นรถ แล้วทำการติดต่อกับบริษัทฯ เพื่อทำสัญญาเช่าซื้อ บริษัทฯ บันทึกบัญชี ดังนี้
1 บริษัทฯ ให้เช่าซื้อต้องบันทึกบัญชีเสมือนว่า ซื้อรถจากเต็น แล้วขายต่อให้ลูกค้า ดังนี้
Dr รถยนต์………………………XXX
….Cr เงินสด……………………………..XXX
Dr ลูกหนี้เช่าซื้อ………………XXX
….Cr รถยนต์……………………………..XXX
……….ดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี…....XXX
……….ภาษีขายรอตัดบัญชี……………..XXX
2 เมื่อรับชำระค่างวด
Dr เงินสด………………………XXX
….Cr ลูกหนี้เช่าซื้อ………………………XXX
Dr ดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี………..XXX
….Cr รายได้ดอกเบี้ยเช่าซื้อ…………..XXX
Dr ภาษีขายรอตัดบัญชี……..XXX
Cr ภาษีขาย…………………………..XXX
คำถาม
1 การบันทึกบัญชีข้างต้น ถูกต้องไหมครับ
2 การทำสัญญาเช่าซื้อ (ทางบัญชีบันทึกเหมือนขายรถ) ยังไม่ต้องเสียภาษีขายใช่ไหมครับ บันทึกเป็นบัญชีภาษีขายรอตัดบัญชี จะเป็นภาษีขายก็ต่อเมื่อรับชำระค่างวดใช่ไหมครับ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
1. กรณีเป็นบริษัทฯ ให้เช่าซื้อรถยนต์มือสอง ลูกค้าจะไปซื้อรถที่เต้นรถ แล้วทำการติดต่อกับบริษัทฯ เพื่อทำสัญญาเช่าซื้อ บริษัทฯ บันทึกบัญชี ตามที่แจ้งไปดังกล่าว นั้น ถูกต้องดีแล้ว เนื่องจากการขายรถมือสองไม่ต้องมีกำไรขั้นต้นจากการให้เช่าซื้อ
....นอกจากนี้แล้ว บริษัทฯ มีหน้าที่ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งผลักให้ลูกค้าเป็นผู้รับภาระแทน ก็ให้บันทึกลูกหนี้เช่าซื้อเพิ่มขึ้นดังนี้
Dr รถยนต์………………………XXX
….Cr เงินสด……………………………..XXX
Dr อากรแสตมป์ .....…………XXX
….Cr เงินสด……………………………..XXX
Dr ลูกหนี้เช่าซื้อ………………XXX
….Cr รถยนต์……………………………..XXX
……….ดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี…....XXX
……….ภาษีขายรอตัดบัญชี……………..XXX
2 การทำสัญญาเช่าซื้อ (ทางบัญชีบันทึกเหมือนขายรถ) ยังไม่ต้องเสียภาษีขายใช่ไหมครับ บันทึกเป็นบัญชีภาษีขายรอตัดบัญชี จะเป็นภาษีขายก็ต่อเมื่อรับชำระค่างวด ตามมาตรา 78 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

สอบถามเกี่ยวกับการโอนกิจการจากบุคคลธรรมดาจดภาษีมูลค่าเพิ่มไปบริษัทดังนี้ครับ

Inbox: จันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 14:57 น.
คุณ Oba Krab
สวัสดีครับอาจารย์
ขอรบกวนสอบถามเกี่ยวกับการโอนกิจการจากบุคคลธรรมดาจดภาษีมูลค่าเพิ่มไปบริษัทดังนี้ครับ
ขอสอบถามว่า
ร้านบุคคลธรรมดาเข้าภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องการโอนกิจการเพื่อนำสินค้าคงเหลือและทรัพยสินไปให้บริษัท สอบถามว่ามีขั้นตอนอย่างไร และบุคคลต้องเสียภาษีในยอดที่โอนหรือไม่ และการได้รับการโอนบริษัท ต้องมีการบันทึกบัญชีอย่างไร ครับ
ขอบคุณครับ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรมสรรพากรได้วางแนวปฏิบัติตามหนังสือตอบข้อหารือของกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/พ./10316 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2550 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการแจ้งเลิกและโอนกิจการ มีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ มาตรา 40 (8) มาตรา 42 (9) และมาตรา 77/1 (8)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
ข้อหารือ
....นาย ส. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการขายเพชร พลอยรูปพรรณ จะเลิกประกอบกิจการโดยโอนกิจการทั้งหมดให้แก่ห้างหุ้นส่วนสามัญ ร. นาย ส. จึงหารือว่า
....1. การโอนสินค้าคงเหลือให้ห้างหุ้นส่วนสามัญ ร. ดังกล่าว ถือเป็นการขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
....2. การโอนกิจการดังกล่าวจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย
เลขตู้ : 70/35372
ต่อข้อถาม ขอเรียนว่า
กรณีร้านบุคคลธรรมดาเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องการโอนกิจการเพื่อนำสินค้าคงเหลือและทรัพยสินไปให้บริษัท นั้น
1. ขั้นตอนการดำเนินการโอนกิจการ
....1.1 บริษัทฯ ที่จะรับโอนกิจการต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อการรับโอนกิจการทั้งหมดจากผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นบุคคลธรรมดา
....1.2 ทั้งสองกิจการต้องยื่นแบบ ภ.พ.09 เพื่อโอนกิจการทั้งหมดตามมาตรา 85/13 แห่งประมวลรัษฎากร ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันโอนกิจการ โดยยื่นแบบคำขอโอนกิจการต่อเจ้าพนักงานประเมิน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่
.........“มาตรา 85/13 ผู้ประกอบการจดทะเบียนใดประสงค์จะโอนกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้น แจ้งการโอนกิจการและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถ้ามี หรือแจ้งการโอนและแจ้งการเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 85/15 แล้วแต่กรณี ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
.............ในกรณีที่ผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถ้ามี ณ สถานที่ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ และในกรณีที่ผู้รับโอนไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ และเมื่อได้ยื่นคำขอแล้วให้ผู้รับโอนประกอบกิจการดังกล่าวต่อเนื่องไปพลางก่อนได้
.............ให้นำมาตรา 85/15 วรรคสองมาใช้บังคับในกรณีที่เป็นการโอนกิจการทั้งหมด”
....1.3 ให้ถือว่า ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา เลิกกิจการ ตามมาตรา 85/15 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.20 ต่อเจ้าพนักงานประเมิน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ
2. การโอนกิจการทั้งหมดของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นบุคคลธรรมดา
....2.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
..........(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับเงินค่าสินค้าคงเหลือที่มีไว้เพื่อขยในการโอนกิจการให้บริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณและยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 60 ของเงินได้ หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ตามมาตรา 8 (11) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502
..........(2) สำหรับการโอนทรัพย์สินอื่นๆ ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ ถือเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในบังคับ ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 4 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 รวมทั้งต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยมีสิทธิเลือกที่จะไม่นำ เงินได้ไปรวมคำนวณเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ไม่ขอรับเงินภาษี ที่ถูกหักไว้นั้นคืน และไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 376) พ.ศ. 2544
....2.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม
..........กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นบุคคลธรรมดาได้โอนกิจการทั้งหมดให้แก่บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การโอนทรัพย์สินและสินค้าคงเหลือดังกล่าว ไม่ถือเป็นการขาย ตามมาตรา 77/1(8) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
อ้างอิง: หนังสือตอบข้อหารือของกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/พ./10316 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2550
3. การบันทึกบัญชี
....3.1 สำหรับบุคคลธรรมดา ไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี มีแต่หน้าที่ในการจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายละเอียดสินค้า ณ วันเลิกกิจการ
....3.2 สำหรับบริษัท ให้บันทึกรับโอนสินค้าคงเหลือและทรัพย์สินที่รับโอนตามมูลค่าที่ตกลงกัน หักด้วยหนี้สิน (ถ้ามี) แล้วบันทึกรายการบัญชีโดย
เดบิต สินค้า
........สินทรัพย์
....เครดิต หนี้สิน (ถ้ามี)
..............ทุน/เงินสด หรือเงินฝากธนาคาร

มีปัญหามาให้อ.ช่วยแก้ค่ะ กรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนบริษัทฯ มีคำสั่งศาลให้โอนหุ้นคืนแก่บริษัท

Inbox: พฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17:27 น.
คุณ Wann นภสร
สวัสดีค่ะ อ.สุเทพ มีปัญหามาให้อ.ช่วยแก้ค่ะ
กรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนบริษัทฯ มีคำสั่งศาลให้โอนหุ้นคืนแก่บริษัท ซึ่งหมายความว่าต้องมีคนนึงมารับหุ้นนี้
คำถาม
1. หุ้นที่ได้รับ ถือเป็นเงินได้ของผู้รับไหม
2. ต้องเอาเงินเข้าบริษัทเพื่อชำระค่าหุ้นไหม (กรณีที่ผู้ถือหุ้นเดิมรับซื้อหุ้นนี้ไว้)
ขอบพระคุณค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัทฯ ถูกศาลมีคำสั่งให้โอนหุ้นคืนแก่บริษัทฯ ซึ่งหมายความว่าต้องมีคนนึงมารับหุ้นนี้ ในเบื้องต้นก็ต้องเป็นบริษัทฯ เป็นผู้รับโอนหุ้นคืน และต้องคืนเงินให้แก่ผู้โอน
1. หุ้นที่ได้รับ ไม่ถือเป็นเงินได้ของผู้รับแต่อย่างใด เพราะเป็นเสมือนการซื้อขายหุ้นทั่วไป
2. ผู้รับโอนหุ้นต่อจากบริษัทฯ (กรณีที่ผู้ถือหุ้นเดิมรับซื้อหุ้นนี้ไว้) ต้องนำเงินมาชำระให้บริษัทฯ เพื่อชำระค่าหุ้น

สอบถามประเด็นเกียวกับการโอนกิจการดังนี้ค่ะ

Inbox: พฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 21:26 น.
คุณ IB Nungruthai
ขออนุญาตสอบถามประเด็นเกียวกับการโอนกิจการดังนี้ค่ะ
บริษัท ก โอนกิจการทั้งหมดให้กับผู้รับโอนคือบริษัท ข โดยบริษัท ก ได้ จด ภ.พ.09 เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2560 เพื่อโอนกิจการทั้งหมดวันที่ 1 พ.ย. 2560 ตามมติประชุมผู้ถือหุ้น จากนั้นโอนสินทรัพย์สุทธิให้ บริษัท ข (ผู้รับโอน) ตามสัญญาโอนกิจการว่าบริษัท ข จ่ายค่าตอบแทนการโอนให้บริษัท ก เป็นหุ้น ต่อมาบริษัท ก แจ้งเลิกเพื่อชำระบัญชีกระทรวงพาณิชย์วันที่ 28 พ.ย. 2560 (รอบบัญชี ณ วันเลิกกิจการจึงเป็นวันที่ 1 ม.ค. 2560 – 28 พ.ย. 2560) ซึ่งบริษัท ก ได้รับค่าตอบแทนเป็นหุ้นตามที่ตกลงกัน
1. สอบถามว่า กรณีการแจ้งโอนกิจการตามแบบ ภ.พ.09 ในวันที่ 3 ต.ค. 2560 เพื่อโอนกิจการในวันที่ 1 พ.ย. 2560 บริษัทฯ ต้องแจ้งเลิกที่กระทรวงพาณิชย์ในวันที่ 1 พ.ย. 2560 ด้วยหรือไม่
2. การดำเนินการโอนกิจการดังกล่าวถูกต้อง และได้สิทธิยกเว้นภาษีทางประมวลรัษฎากรหรือไม่
ขอบคุณค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
บริษัท ก โอนกิจการทั้งหมดให้กับผู้รับโอนคือบริษัท ข โดยบริษัท ก ได้ จด ภ.พ.09 เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2560 เพื่อโอนกิจการทั้งหมดวันที่ 1 พ.ย. 2560 ตามมติประชุมผู้ถือหุ้น จากนั้นโอนสินทรัพย์สุทธิให้ บริษัท ข (ผู้รับโอน) ตามสัญญาโอนกิจการว่าบริษัท ข จ่ายค่าตอบแทนการโอนให้บริษัท ก เป็นหุ้น ต่อมาบริษัท ก แจ้งเลิกเพื่อชำระบัญชีกระทรวงพาณิชย์วันที่ 28 พ.ย. 2560 (รอบบัญชี ณ วันเลิกกิจการจึงเป็นวันที่ 1 ม.ค. 2560 – 28 พ.ย. 2560) ซึ่งบริษัท ก ได้รับค่าตอบแทนเป็นหุ้นตามที่ตกลงกัน นั้น
1. กรณีการแจ้งโอนกิจการตามแบบ ภ.พ.09 ในวันที่ 3 ต.ค. 2560 เพื่อโอนกิจการในวันที่ 1 พ.ย. 2560 บริษัทฯ ไม่จำเป้นต้องแจ้งเลิกที่กระทรวงพาณิชย์ในวันที่ 1 พ.ย. 2560 ด้วย เพราะเป็นคนละกฏหมายกัน แต่หากทำได้ก็จะเป็นการดีกว่า
2. การดำเนินการโอนกิจการดังกล่าว ต้องดำเนินการตามมาตรา 5 โสฬส และมาตรา 5 สัตตรส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 330) พ.ศ. 2541 และพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 542) พ.ศ. 2555 จึงจะได้สิทธิยกเว้นภาษีทางประมวลรัษฎากร ดังนี้
....“มาตรา 5 โสฬส ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ เฉพาะการโอนอสังหาริมทรัพย์อันเนื่องมาจากการที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัดควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(ดูประกาศอธิบดีฯ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน)
(ดูประกาศอธิบดีฯ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน (ฉบับที่ 3))
....มาตรา 5 สัตตรส ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทสำหรับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน โดยโอนหุ้นเพื่อแลกกับหุ้นในบริษัทใหม่อันได้ควบเข้ากันหรือบริษัทผู้รับโอนกิจการทั้งหมด ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนและการโอนหุ้นที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับการควบเข้ากันหรือการโอนกิจการทั้งหมดการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”
(ดูประกาศอธิบดีฯ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน)
(ดูประกาศอธิบดีฯ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน (ฉบับที่ 3))

ถ้ากิจการร่วมค้ามีรายได้ไม่เกิน​ 30​ ล้่าน​บาท​ ต้องเสียภาษีเหมือน​ SME​ หรืออัตราทั่วไป​ 20% ครับ​

คุณ Jame Netton (8 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 14:45 น.)
อาจารย์ครับ​
ถ้ากิจการร่วมค้ามีรายได้ไม่เกิน​ 30​ ล้่าน​บาท​ ต้องเสียภาษีเหมือน​ SME​ หรืออัตราทั่วไป​ 20% ครับ​ กรณีที่คุณ​ Wi Mini OlivesMe ถาม​ เคยสอบถามกองกฎหมายกรมฯ​ ตอบว่า ลงทะเบียนไม่ได้​เนื่องจาก​ Joint Venture ไม่มีทุนจดทะเบียน​ เรื่องค่าปรับอาญาก็เหมือนกัน​ กรมฯก็พูดเฉพาะการยื่นงบ​ ภาษีอื่นไม่พูดถึง​ แต่ถ้าอ่าน​ พ.ร.บ.ยกเว้นทุกประเภทภาษี​ เลยสอบถาม​ มจ.ดู​ มจ.ตอบยังไม่มีนโยบาย​ครับ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ตามมาตรา 5 แห่ง“พระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 ได้กำหนดคุณสมบัติของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามมาตรา 4 ดังต่อไปนี้
...."มาตรา 5 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามมาตรา 4 ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
........(1) มีรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้าย ซึ่งมีกำหนดครบสิบสองเดือน โดยวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 ไม่เกินห้าร้อยล้านบาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
........(2) ได้มีการยื่นรายการภาษีเงินได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตาม (1) ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
........(3) ไม่เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีหรือผู้ใช้ใบกำกับภาษีที่กรมสรรพากรได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าได้มีการกระทำความผิดอาญาเกี่ยวกับใบกำกับภาษีตามประมวลกฎหมายอาญาไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ”
ดังจะเห็นว่า คุณสมบัติของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามมาตรา 4 ดังกล่าว ไม่มีเรื่องของทุนจดทะเบียน "กิจการร่วมค้า" จึงย่อมได้สิทธิตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
ทั้งนี้ คุณสมบัติของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นจากการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้
เสียภาษีอากร และความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร สําหรับรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี
ที่มีวันเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 หรือมูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระทําตราสารที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ตามพระราชกําหนดยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 ก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้กล่าวถึงทุนจดทะเบียน แต่อย่างใด
แต่สิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท และลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 15% ของกำไรสุทธิในส่วนที่เกิน 300,000 บาทแต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 นั้น กำหนดให้แก่เฉพาะ SMEs ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายและบริหารไม่เกิน 30 ล้านบาท ตลอดมา นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา
คำตอบที่ได้ตอบคุณ Wi Mini OlivesMe นั้น ผมตอบโดยยึดถือกฎหมายเป็นสำคัญ ไม่นำพากับคำตอบของใครก็ตามที่ไม่ตรงตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึงการไม่เคารพกฎหมาย และสิทธิของผู้ต้องเสียภาษีอากรครับ จึงขอยืนยันคำตอบ และไม่พึงสับสนกับข้อกฎหมายดังได้กล่าวแล้วข้างต้น

อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายถึงข้อยกเว้นที่ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีมีเรื่องอะไรบ้าง และธุรกิจประเภทไหน นิติบุคคลใดที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีการจัดทำบัญชี ตาม พ.ร.บ.การบัญชี ?

Inbox: ศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 01:16 น.
คุณ Irada Viengkaew
เรียน อาจารย์สุเทพ
ขอสอบถามเป็นความรู้ค่ะ
เรื่อง ข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี
พอดีว่าหนูไปอ่านใน พ.ร.บ. การบัญชี 2543 มาตรา 7 อธิบดีมีอำนาจประกาศ ข้อ (5) กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชี ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง
แต่มีข้อกำหนดตาม (5) และ (6) ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีด้วย อ่านแล้วเเต่ยังตีความหมายไม่ชัด
จึงอยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายถึงข้อยกเว้นที่ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีมีเรื่องอะไรบ้าง และธุรกิจประเภทไหน นิติบุคคลใดที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีการจัดทำบัญชี ตาม พ.ร.บ.การบัญชี ?
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
คำถามในลักษณะเช่นนี้ เป็นคำถามทีอาจารย์ถามลูกศิษย์ เพื่อให้ค้นคว้าศึกษาด้วยตนเอง (Self-study) หากการถามผมถือเป็นการค้นคว้าศึกษาด้วยตนเอง (Self-study) ก็ได้นะ อย่าให้อาจารย์ท่านทราบว่า ถามผมนะจ้ะ เดี๋ยวท่านจะปรับผมสอบตกไปด้วย 5555
ตามมาตรา 7 (5) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
....“มาตรา 7 อธิบดีมีอำนาจประกาศ ในราชกิจจานุเบกษากำหนดในเรื่อง ดังต่อไปนี้
........(5) กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชี ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง
....เกี่ยวกับเรื่องนี้ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ายังมิได้กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชี ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทำบัญชี ตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐานการบัญชีนั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้ ดังนี้
....“มาตรา 7 สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
........(3) กำหนดมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี
....มาตรา 34 มาตรา ๓๔ ให้คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีมีอำนาจหน้าที่กำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี........มาตรฐานการบัญชีต้องจัดทำขึ้นเป็นภาษาไทย
........มาตรฐานการบัญชีที่คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีกำหนดและปรับปรุงเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
........เมื่อได้รับแจ้งจากผู้ทำบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ใช้ข้อมูลทางการเงิน กรมการประกันภัย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานอื่นใด ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือการปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ หรือเป็นอุปสรรคต่อการ ประกอบกิจการ คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีต้องดำเนินการตรวจสอบและรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง และกำหนด ปรับปรุง หรือพัฒนามาตรฐานการบัญชีโดยพลัน”
-------------------------------------------------------------------------------
....อาศัยความตามมาตรา 7 (3) และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการจัดทำบัญชี ตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่น ทั้งนี้ มาตรฐานการบัญชีนั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงจะใช้บังคับได้
....เพื่อให้การจัดทำบัญชีและงบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีมีการปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีจึงมีมติว่า ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจัดทำบัญชีและงบการเงิน โดยมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
....1. การจัดทำบัญชีและงบการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและกฎหมายอื่นหรือในกรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้หรือกำหนดไว้ไม่ชัดเจน ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและแนวปฏิบัติทางการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
....2. ในกรณีที่การจัดทำบัญชีและงบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัดในเรื่องใดที่ไม่มีมาตรฐานการบัญชีและแนวปฏิบัติทางการบัญชีครอบคลุมถึง ก็อาจที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและแนวทางปฏิบัติอื่นที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชี และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของประเทศสหรัฐอเมริกา
........ทั้งนี้ ต้องระบุด้วยว่า รายการนโยบายการบัญชีที่ใช้ปฏิบัติสำหรับการบันทึกบัญชีรายการนั้นเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีใด
....3. ในกรณีที่การจัดทำบัญชีและงบการเงินในเรื่องใดไม่สามารถระบุมาตรฐานการบัญชีที่ใช้ปฏิบัติตามข้อ 1 หรือข้อ 2 ข้างต้น แล้วแต่กรณีได้ ให้ใช้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือประเพณีนิยมเป็นหลักปฏิบัติ
....สภาวิชาชีพบัญชีจึงเห็นสมควรเผยแพร่และประกาศใช้แนวทางการจัดทำบัญชีและงบการเงินดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป โดยออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 8/2549 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและงบการเงิน ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2549
คุณ Thanyporn Atikunvarin ได้เพิ่มเติมความเห็นที่เป็นประโยชน์ดังนี้
ที่อาจารย์ตอบถูกต้องทุกประการค่ะ รวมทั้งในขณะที่ออก พ.ร.บ. การบัญชี 2543 เรายังกำหนดให้ทุกกิจการไม่ว่าใหญ่เล็กต้องทำตามมาตรฐานการบัญชีเหมือนกันหมด แต่ตอนนั้นเราเว้น 7 ฉบับสำหรับกิจการขนาดเล็ก เลยเป็นที่มาของการยกเว้นมาตรฐานบางฉบับหรือบางย่อหน้าค่ะ เราเพิ่งจะมาแยกมาตรฐานเมื่อปี 2554 ค่ะ

ธุรกิจที่เป็น กิจการร่วมค้า ที่จดจัดตั้งที่สรรพากรอย่างเดียวไม่ได้จดที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะได้นิรโทษภาษีไหมคะ

Inbox: ศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 07:51 น.
คุณ Wi Mini OlivesMe
ขอความกรุณาอาจารย์หน่อยคะ
ธุรกิจที่เป็น กิจการร่วมค้า ที่จดจัดตั้งที่สรรพากรอย่างเดียวไม่ได้จดที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะได้นิรโทษภาษีไหมคะ รบกวนด้วยคะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ตามมาตรา 4 แห่ง“พระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 ได้กำหนดยกเว้นยกเว้นเบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่ม สำหรับภาษีอากรตามประเภทภาษีอากรและรอบระยะเวลาบัญชีหรือเดือนภาษีหรือประเภทตราสารตามที่กำหนดไว้ดังนี้
....“มาตรา 4 ภายใต้บังคับมาตรา 7 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้ยื่นแบบแสดง
รายการ หรือที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้วแต่ไม่ถูกต้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อได้ดำเนินการตามมาตรา 6 แล้ว ให้ได้รับยกเว้นเบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่ม สำหรับภาษีอากรตามประเภทภาษีอากรและรอบระยะเวลาบัญชีหรือเดือนภาษีหรือประเภทตราสารตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี
........การยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ไม่ให้ใช้บังคับส าหรับกรณีที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินหรือหนังสือแจ้งให้เสียอากรและค่าเพิ่มอากรแล้ว”
....คำว่า “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธ (มาตรา 3)
ดังนั้น กิจการร่วมค้า เป็น “บริษัทหรือห้างห้นส่วนนิติบุคคล” ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร หากมีคุณสมบัติตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็ย่อมได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกัน

บุคคลธรรมดาได้รับเงินลดทุน จากการนำเงินไปลงทุนซื้อหน่วยทรัสต์ เงินลดทุนนี้ต้องรวมเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อเสียภาษีหรือไม่คะ

Inbox: ศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:44 น.
คุณ Achara Duriyajanjai
เรียน อาจารย์สุเทพ
สอบถามเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาค่ะ
บุคคลธรรมดาได้รับเงินลดทุน จากการนำเงินไปลงทุนซื้อหน่วยทรัสต์ 
เงินลดทุนนี้ต้องรวมเป็นเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อเสียภาษีหรือไม่คะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินลดทุน จากการนำเงินไปลงทุนซื้อหน่วยทรัสต์ นั้น
เงินลดทุนดังกล่าวนี้ ไม่ต้องนำไปรวมเป็นเงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดาเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด

กรรมการบริษัทฯ ทำสัญญาเช่า Server จากต่างประเทศในนามของกรรมการเอง เพื่อมาใช้งานบริษัทฯ ในไทย อยากทราบถึงภาระภาษี

Inbox: ศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 10:40 น.
คุณ เจ แอนด์ ดับบลิว พรอสเพอริตี้
กราบเรียนสอบถาม ท่าน อ. คะ
กรรมการบริษัทฯ ทำสัญญาเช่า ในนามของกรรมการเอง เพื่อมาใช้งานบริษัทฯ ในไทย อยากทราบถึงภาระภาษีดังนี้
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีกรรมการบริษัทฯ ทำสัญญาเช่า Server จากต่างประเทศในนามของกรรมการเอง เพื่อมาใช้งานบริษัทฯ ในไทย เช่นนี้ บริษัทฯ ควรมีหนังสือมอบหมายให้กรรมการดำเนินการแทนบริษัทฯ ในนามของกรรมการ
1. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทฯ สามารถนำค่าเช่า Server มาถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เพราะเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ เพียงแต่ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนตามข้อแนะนำข้างต้น
2. กรณีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้องได้ทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า ประเทศที่ตั้งของบริษัทผู้ให้เช่า Server ว่า เป็นประเทศใด มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยหรือไม่ และในอนุสัญญาภาษีซ้อนกำหนดให้สิทธิการเช่า เป็น “ค่าสิทธิ” (Royalty) หรือไม่
....(1) กรณีประเทศที่ตั้งของบริษัทผู้ให้เช่า Server ว่า เป็นประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย และในอนุสัญญาภาษีซ้อน “ไม่ได้” กำหนดให้สิทธิการเช่า เป็น “ค่าสิทธิ” (Royalty) ถือว่า ค่าเช่า Server เป็น “กำไรจากธุรกิจ” บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร เพราะตามอนุสัญญาภาษีซ้อนกำหนดให้ประเทศไทยสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้จาก “กำไรจากธุรกิจ” ได้เฉพาะกรณีวิสาหกิจนั้น ประกอบกิจการผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเท่านั้น
....(2) กรณีประเทศที่ตั้งของบริษัทผู้ให้เช่า Server ว่า เป็นประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย และในอนุสัญญาภาษีซ้อน “ได้” กำหนดให้สิทธิการเช่า เป็น “ค่าสิทธิ” (Royalty) ให้บริษัทฯ คำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ตามอัตราที่กำหนดในอนุสัญญาภาษีซ้อน แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ แล้วนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
....(3) กรณีประเทศที่ตั้งของบริษัทผู้ให้เช่า Server ว่า เป็นประเทศที่ “ไม่มี” อนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย ให้บริษัทฯ คำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราที่ 15% ของเงินได้ แล้วนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
3. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากการเช่า Server ดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศไทย จึงเป็นกิจการทีอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.พ.36 เพื่อนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7.0% ของเงินได้ และนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

สอบถามเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้ค่ะ

Inbox: 11/10/2017 เวลา 14:19
คุณ Kes Chun
สวัสดีค่ะอาจารย์
ขอรบกวนสอบถามเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มดังนี้ค่ะ
ขอสอบถามว่า
1. บริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีขายเมื่อใด ระหว่างขายให้กับลูกค้าหรือได้รับเงินจากทางห้างฯ
2. บริษัทฯ มีการจ่ายค่าตอบแทนจากการขายให้กับทางห้าง 10 - 15% ทางห้างฯ จะหักออกจากเงินที่จะคืนให้กับทางบริษัทฯ หากบริษัทฯ ต้องออกใบกำกับภาษีขายให้กับทางห้างฯ ยอดเงินที่ออกใบกำกับภาษีจะต้องเป็นยอดก่อนหักค่าตอบแทน หรือหลังหักค่าตอบแทน ขอขอบคุณมากค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการขายผัดไทเช่าพื้นที่ในศูนย์อาหารของคิงส์ พาวเวอร์ ซึ่งการขายในแต่ละครั้งที่ลูกค้ามาซื้อจะได้รับเป็นคีย์การ์ด /คูปอง (ซึ่งไม่ได้รับเงินสดโดยตรงจากลูกค้า) เงินดังกล่าวจะไปอยู่กับทางห้างฯ ซึ่งทางห้างฯ จะเคลียร์เงินดังกล่าวให้ทุก 15 วัน โดยบริษัทฯ มีการจ่ายค่าตอบแทนจากการขายให้กับทางห้าง 10 - 15% ทางห้างฯ จะหักออกจากเงินที่จะคืนให้กับทางบริษัทฯ นั้น
ขอเรียนว่า ข้อเท็จจริงตามที่แจ้งไปนั้น ยังไม่ครบถ้วน ในส่วนของข้อตกลงระหว่างบริษัทฯ ก้บห้างฯ ว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ประกอบกิจการจำหน่ายอาหารให้แก่ลูกค้าผู้บริโภค จึงต้องขอตอบแยกเป็นสองกรณี (เหนื่อยมากขึ้น โดยไม่จำเป็น!!! หรือจำเป็นสำหรับเพื่อนท่านอื่น 555)
กรณีที่หนึ่ง ห้างฯ เป็นผู้จำหน่ายอาหารให้แก่ลูกค้าผู้บริโภค เท่ากับ
....(1) บริษัทฯ เป็นผู้ขายอาหารให้แก่ห้างฯ เช่นนี้ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นในทันทีที่ส่งมอบอาหารให้แก่ห้างฯ ตามราคาที่ตกลงกัน คือราคาสุทธิหลังจากหักค่าตอบแทนจากการขาย
.........แต่ประเด็นปัญหา คือ ห้างฯ จะเคลียร์เงินดังกล่าวให้ทุก 15 วัน แต่ความรับผิดเกิดขึ้นทุกวัน ซึ่งตามข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 86/2542 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 155/2560 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป วางแนวทางปฏิบัติกำหนดยอมให้สามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวมเพียงครั้งเดียวในหนึ่งวันทำการสำหรับการขายสินค้าชนิดและประเภทเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้ารายหนึ่งรายใดเป็นจำนวนหลายครั้งในหนึ่งวันทำการได้ ดังนี้
.........“ข้อ 1 ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และหรือมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูปจะต้องจัดทำใบกำกับภาษีทุกครั้งที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เว้นแต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า หรือให้บริการพร้อมกับการชำระราคาค่าบริการ โดยเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการชนิดและประเภทเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการรายหนึ่งรายใดเป็นจำนวนหลายครั้งในหนึ่งวันทำการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวมเพียงครั้งเดียวในหนึ่งวันทำการสำหรับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการรายนั้นก็ได้”
.........ดังนั้น ในกรณีนี้ บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ห้างฯ ทุกวันตามมูลค่าที่ตกลงกัน (สุทธิหลังหักค่าตอบแทน) และบันทึกรายงานภาษีขาย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย
....(2) บริษัทฯ เป็นผู้รับจ้างปรุงหรือประกอบอาหารให้แก่ห้างฯ เช่นนี้ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการจากห้างฯ
.........ดังนั้น ในกรณีนี้ บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ห้างฯ เมื่อได้รับชำระค่าบริการทุก 15 วันตามมูลค่าที่ตกลงกัน (สุทธิหลังหักค่าตอบแทน) และบันทึกรายงานภาษีขาย โดยบริษัทฯ ไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
กรณีที่สอง บริษัทฯ เป็นผู้จำหน่ายอาหารให้แก่ลูกค้า ให้จัดทำคูปองเป็นใบกำกับภาษีอย่างย่อแล้ว บริษัทฯ จึงไม่ต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้า เพียงแต่รวบรวมยอดขายในแต่ละวันมาบันทึกรายงายภาษีขาย เช่นเดียวกับกิจการ “ภัตตาคาร” โดยต้องรับรู้รายได้เต็มมูลค่าอาหารที่ได้รับคูปอง/คีย์การ์ดจากลูกค้า และห้างฯ มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่บริษัทฯ ทุก 15 วัน ตามจำนวนที่ตกลงกัน
ต้องขอโทษที่ตอบปัญหาให้ล่าช้าไปมาก คงจะได้คำตอบจากแหล่งอื่นแล้ว เป็นเพราะก่อนหน้านี้ ไม่ทราบว่ามีการถามทางช่องทาง Inbox รวมทั้งประกาศว่า ไม่รับตอบปัญหาทางข่องทาง Inbox เนื่องจาก low tech ไม่เชี่ยวชาญ แต่กว่าจะได้เรียนรู้ จึงทำให้เกิดความล่าช่าดังกล่าว

ปรึกษาเรื่องการรับรู้รายได้และต้นทุน ของธุรกิจให้บริการที่ปรึกษาระบบ (ERP) ค่ะ

Inbox: พฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17:19 น.
คุณ Fon Cha
สวัสดีค่ะ อาจารย์สุเทพ
รบกวนปรึกษาเรื่องการรับรู้รายได้และต้นทุน ของธุรกิจให้บริการที่ปรึกษาระบบ (ERP) ค่ะ
ในปี 2018 บริษัท A ได้ให้บริการอบรมลูกค้าจนเสร็จภายในปี และวางบิลไป แต่ผลปรากฎว่าลูกค้าปฏิเสธไม่รับวางบิลนั้น โดยให้เหตุผลว่า บริษัท A จัดการอบรมไม่สำเร็จ (อาจจะหมายถึง ลูกค้ายังไม่สามารถนำสิ่งที่อบรมไปปฏิบัติงานจริงได้) ดังนั้น ดิฉันซึ่งเป็นพนักงานบัญชี จึงรับรู้รายได้นั้นทั้งจำนวนในปี 2018 เพราะเห็นว่า มีการทำงานต้นทุนแรงงานได้เกิดแล้ว แต่ผู้บริหารบอกว่า ยังไม่ให้รับรู้รายได้ยอดนั้นในปี 2018 โดยให้บันทึกต้นทุนเป็นงานระหว่างทำแทน แบบนี้ผิดหลักข้อกฎหมายของสรรพากรหรือไม่ หรือหากทำได้เอกสารหลักฐานประกอบการบันทึกงานระหว่างที่พอจะยืนยันหากโดนตรวจสอบ คือ อะไรบ้างคะ (Timesheet, Service record, Expenses claim เท่านี้เพียงพอหรือไม่คะ)
หรือหากบันทึกรายได้เท่าต้นทุนที่ตีเป็น % ตามผลสำเร็จของงานคะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
การรับรู้รายได้จากการให้บริการตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 นั้น ท่านให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ดังนั้น กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการให้บริการที่ปรึกษาระบบ (ERP) ค่ะ
ในปี 2018 บริษัท A ได้ให้บริการอบรมลูกค้าจนเสร็จภายในปี และวางบิลไป แต่ผลปรากฎว่าลูกค้าปฏิเสธไม่รับวางบิลนั้น โดยให้เหตุผลว่า บริษัท A จัดการอบรมไม่สำเร็จ (อาจจะหมายถึง ลูกค้ายังไม่สามารถนำสิ่งที่อบรมไปปฏิบัติงานจริงได้) นั้น
บริษัทฯ ได้รับรู้รายได้นั้นทั้งจำนวนในปี 2018 เพราะเห็นว่า มีการทำงานต้นทุนแรงงานได้เกิดแล้ว จึงถูกต้องตามหลักเกณฑ์สิทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎกรแล้ว
การที่ผู้บริหารแจ้งว่า ยังไม่ให้รับรู้รายได้ยอดนั้นในปี 2018 โดยให้บันทึกต้นทุนเป็นงานระหว่างทำแทน จะทำให้ผิดหลักข้อกฎหมายของสรรพากร หรือหากฝืนทำ พึงต้องสร้างเอกสารหลักฐานประกอบการบันทึกงานระหว่างทำที่พอจะยืนยันหากโดนตรวจสอบ (Timesheet, Service record, Expenses claim เท่านี้เพียงพอหรือไม่ นั้น) ไม่อาจตอบให้ได้ครับ

โอนจากบุคคลธรรมดา เป็นนิติบุคคล(ยกเว้นตามกฤษฎีกา)จากนั้นก็จด ภ.พ.09 เขาเป็นร้านรูดบัตรประชารัฐ แต่กว่าทางพาณิชย์จังหวัด จะทำเรื่องไปกระทรวงการคลัง ให้ลูกค้ารูดบัตรจากบุคคลธรรมดาไปเข้านิติบุคคลก็จะยังอีก3-4 เดือน

Inbox: พฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 15:36 น.
คุณ รวน อินทวงศ์
อาจารย์คะ มีปัญหาที่ต้องการคำตอบคะ คือว่ามีลูกค้าโอนจากบุคคลธรรมดา เป็นนิติบุคคล(ยกเว้นตามกฤษฎีกา)จากนั้นก็จด ภ.พ.09 เขาเป็นร้านรูดบัตรประชารัฐ
แต่กว่าทางพาณิชย์จังหวัด จะทำเรื่องไปกระทรวงการคลัง ให้ลูกค้ารูดบัตรจากบุคคลธรรมดาไปเข้านิติบุคคลก็จะยังอีก3-4 เดือน
ปรากฏว่าเงินที่ขายของรูดบัตรประชารัฐยังเข้าไปบุคคลธรรมดาอยู่ 
ดังนั้นหนูเลยต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มในนามบุคคลธรรมดาต่อ แต่สรรพากรบอกว่า ต้องยื่นเป๋นห้าง เพราะเราโอนไปแล้ว
ก็ยังงง ว่าใช้หลักการอะไร ในเมื่อเรามีรายได้ก็ยื่น Vat แต่ภาษีซื้อก็ไม่เคยนำมาใช้
อันนี้อาจารย์เห็นว่าอย่างไรคะ
รบกวนไม่ทราบจะไปถามใคร คือมีรายได้รูดบัตร ประมาณเดือนละ800,000-900,000
บางเดือนก็ 1,200,000
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
มีลูกค้าโอนจากบุคคลธรรมดา เป็นนิติบุคคล (ยกเว้นตามกฤษฎีกาฯ ) จากนั้นก็จด ภ.พ.09 เขาเป็นร้านรูดบัตรประชารัฐ แต่กว่าทางพาณิชย์จังหวัด จะทำเรื่องไปกระทรวงการคลัง ให้ลูกค้ารูดบัตรจากบุคคลธรรมดาไปเข้านิติบุคคลก็จะยังอีก 3-4 เดือน ปรากฏว่า เงินที่ขายของรูดบัตรประชารัฐยังเข้าไปบุคคลธรรมดาอยู่ ดังนั้นหนูเลยต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มในนามบุคคลธรรมดาต่อ แต่สรรพากรบอกว่า ต้องยื่นเป็นห้างฯ เพราะเราโอนไปแล้ว นั้น
คำตอบของเจ้าหน้าที่สรรพากร ถูกต้องแล้ว ให้ห้างฯ ทำหนังสือมอบหมายให้บุคคลธรรมดาเป็นผู้รูดบัตรประชารัฐแทนห้างฯ และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในนามของห้างฯ

บริษัทได้รับพัดลมตั้งโต๊ะ เป็นรางวัลส่งเสริมการขายจากผู้ขายสินค้ารายหนึ่ง บริษัทถูกเรียกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% อยากสอบถามอาจารย์ว่า

Inbox: พุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 22:09 น.
คุณ Ja Chumkong
เรียน อาจารย์สุเทพที่เคารพ
ดิฉันมีเรื่องรบกวนสอบถามค่ะ กรณีที่บริษัทได้รับพัดลมตั้งโต๊ะ เป็นรางวัลส่งเสริมการขายจากผู้ขายสินค้ารายหนึ่ง บริษัทถูกเรียกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% อยากสอบถามอาจารย์ว่า
1. บริษัทจำเป็นต้องบันทึกเป็นรายได้หรือไม่
2. ถ้าหากบริษัทนำพัดลมมาให้พนักงานจับฉลากในงาน Staff Party บริษัทต้องนำส่งภาษีขายหรือไม่
3. พนักงานที่จับฉลากได้ต้องนำมาเป็นรายได้ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่คะ
ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีที่บริษัทฯ ได้รับพัดลมตั้งโต๊ะ เป็นรางวัลส่งเสริมการขายจากผู้ขายสินค้ารายหนึ่ง บริษัทฯ ถูกเรียกเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% นั้น
1. บริษัทฯ จำเป็นต้องบันทึกเป็นรายได้ ให้บันทึกรายการบัญชีโดย
เดบิต ทรัพย์สิน......................100%
........ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย.......3%
....เครดิต รายได้อื่น………………………….100%
……………เงินสด/เจ้าหนี้..........................3%
2. ถ้าหากบริษัทฯ นำพัดลมมาให้พนักงานจับฉลากในงาน Staff Party บริษัทต้ฯ องนำส่งภาษีขายด้วย ให้บันทึกรายการบัญชีโดย
เดบิต ค่าใช้จ่ายพนักงาน..........100%
........ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย.......3%
....เครดิต รายได้อื่น………………………….100%
……………เงินสด/เจ้าหนี้..........................3%
3. พนักงานที่จับฉลากได้ต้องนำมาเป็นรายได้ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะถือว่าได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทฯ

บ. จ่ายเงินค่าทำตลาดให้บริษัทแม่ที่ประเทศสิงคโปร์ต้องหักณที่จ่ายและยืน 36 หรือป่าวคะ

Inbox: พุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 20:52 น.
คุณ Muk Sukonrat
เรียนอาจารย์
บ. จ่ายเงินค่าทำตลาดให้บริษัทแม่ที่ประเทศสิงคโปร์ต้องหักณที่จ่ายและยืน 36 หรือป่าวคะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
เนื่องจากค่าจ้างทำการตลาด เข้าลักษณะเป็น “กำไรจากธุรกิจ” ตามข้อ 7 แห่งความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (อนุสัญญาภาษีซ้อน ไทย - สิงคโปร์) ซึ่งยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทในประเทศสิงคโปร์ หากบริษัทแห่งประเทศสิงคโปร์ มิได้กระทำกิจการผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย
ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าทำการตลาดไปยังประเทศสิงคโปร์ จึงไม่มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.54) ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และหากการทำการตลาดดังกล่าว เป็นการหาลูกค้าในต่างประเทศ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในต่างประเทศ และได้ใช้บริการในต่างประเทศ บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) ต้องมีหน้ามีหักและนำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่ายไหมครับ

Inbox: พุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17:48 น.
คุณ Phipat Tao
สวัสดีครับอาจารย์ รบกวนสอบถามครับว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) ต้องมีหน้ามีหักและนำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่ายไหมครับ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล ต้องมีหน้ามีหักและนำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย บางกรณีดังนี้
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร
....มาตรา 50 ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวิธีดังต่อไปนี้
....1.1 มาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
.........“(1) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
...............ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายตามความในวรรคก่อนไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่าจำนวนภาษีที่จะต้องเสียทั้งปี
...............ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงาน และได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(5) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
...............ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) นอกจากที่ระบุไว้ในวรรคสาม ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้”
.... 1.2 มาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
.........“(2) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) และ (4) ให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้ เว้นแต่
...............(ก) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) และ (4) นอกจากที่ระบุไว้ใน (ข)(ค)(ง) และ (จ) ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้
...............(ข) ในกรณีเงินได้พึงประเมินที่ระบุในมาตรา 48 (3) (ก) และ(ค) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ (ไม่ต้องหัก)
...............(ค) ในกรณีเงินได้พึงประเมินที่ระบุในมาตรา 48 (3) (ข) ให้ถือว่าผู้ออกตั๋วเงิน ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือนิติบุคคลผู้โอนตั๋วเงินหรือตราสารดังกล่าว ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามส่วนนี้เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน และให้เรียกเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีเงินได้ ในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ และให้ถือว่าภาษีที่เรียกเก็บนั้นเป็นภาษีที่หักไว้ (ไม่ต้องหัก)
...............(ง) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) (ก) ที่มิได้ระบุใน (ข) และ (ค) แห่งมาตรานี้ ถ้าผู้จ่ายเงินได้มิใช่เป็นนิติบุคคล และจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ไม่ต้องหักภาษีตามมาตรานี้
...............(จ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) (ข) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ (ไม่ต้องหัก)
...............(ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้”
.... 1.3 มาตรา 50 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
.........“(3) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) และ (6) ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้”
.... 1.4 มาตรา 50 (5) และ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
.........“(5) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ ให้คำนวณหักดังต่อไปนี้
...............(ก) สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (4) (ก) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
...............(ข) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจาก (ก) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (4) (ข) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น
.........(6) ในกรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้ถือว่าผู้โอนเป็นผู้จ่ายเงินได้ โดยให้ผู้โอนหักภาษีตามเกณฑ์ใน (5) เว้นแต่กรณีการโอนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม ให้ผู้โอนหักภาษีไว้ร้อยละ ๕ ของเงินได้เฉพาะในส่วนที่เกินยี่สิบล้านบาท”
2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ดังนี้
....2.1 ตามข้อ 9 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ดังนี้
.........“ข้อ 9 ให้บุคคล บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
.............(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เป็นรางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0
.............(2) นักแสดงสาธารณะ
..................(ก) กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา เว้นแต่นักแสดงสาธารณะที่เป็น นักแสดงภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ เฉพาะกรณีที่มีการดำเนินการถ่ายทำ ภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ในประเทศไทยโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำในประเทศไทยจากคณะอนุกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ว่าด้วยการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2544 หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0”
..................(ข) กรณีนอกจาก (ก) หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0
..................คำว่า “นักแสดงสาธารณะ” หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุและโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพหรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ”
....2.2 ตามข้อ 12 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ดังนี้
.........“ข้อ 12 ให้บุคคล บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าจ้างทำของให้แก่ผู้รับจ้างซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทยหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0”
....2.3 ตามข้อ 12/6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ดังนี้
.........“ข้อ 12/6 ให้บุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้เพื่อซื้อเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียม วัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
.............ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ สำหรับการจ่ายเงินได้เพื่อซื้อเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยัง มิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ ให้แก่ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้า ไปเพื่อการบริโภค โดยไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ ทั้งนี้ สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป”