วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

อยากทราบภาษีที่เกี่ยวข้อง กับค่า Franchise และ ค่า Royalty ค่ะ มีเฉพาะ ภาษี หัก ณ ที่จ่าย ถูกต้องไหมคะ

Inbox: พฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 11:01 น.
คุณ Manuswat Smithsuwan
เรียนอาจารย์สุเทพ ค่ะ
พอดีมีธุรกิจซื้อแฟรนชายส์คาเฟ่อะเมซอนมาค่ะ อยากทราบภาษีที่เกี่ยวข้อง กับค่า Franchise และ ค่า Royalty ค่ะ
มีเฉพาะ ภาษี หัก ณ ที่จ่าย ถูกต้องไหมคะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ภาษีที่เกี่ยวข้อง กับค่า Franchise และ ค่า Royalty
....บริษัทฯ ในฐานะผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องจ่ายค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่ Franchiser ไม่ว่าบิรษัทฯ จะจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการหรือไม่ โดยจะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขายแฟรนไชส์ ตามหลักฐานใบกำกับภาษีแบบเต็มรูแ ซึ่งบริษัทฯ ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถนำไปใช้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียในแต่ละเดือน และเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
....การคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสำหรับ Francise เป็นไปตามมาตรา 4 (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ดังนี้
....“มาตรา 4 การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินให้คำนวณหักตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่รอบระยะเวลาใดไม่เต็มสิบสองเดือนให้เฉลี่ยตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
........(3) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า
.............กรณีไม่มีหนังสือสัญญาเช่า หรือมีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้ โดยเงื่อนไขในการต่ออายุนั้นเปิดโอกาสให้ต่ออายุการเช่ากันได้ต่อ ๆ ไป ร้อยละ 10
.............กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่ไม่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้หรือมีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้เพียงระยะเวลาอันจำกัดแน่นอน ร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการเช่าและอายุที่ต่อได้รวมกัน”
....ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือ Franchisee (แฟรนไชส์ซี) มีหน้าที่คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 3% ของค่าแฟรนไชส์ และนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป โดยต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายให้แก่ Franchiser และ Royalty
เมื่อแฟรนไชส์ซีได้เริ่มต้นทำธุรกิจแฟรนไชส์ และเริ่มมีรายได้เข้ามา เราก็มีหน้าที่ในการเสียภาษีดังต่อไปนี้
....ภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่
........ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
........ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับ ตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย นำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี
....ภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ และออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อส่งมอบสินค้า จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษี มูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
........บริษัทฯ ในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียน มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงาน ภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย
ที่มา:http://www.thaismescenter.com/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B9%8C-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/?fbclid=IwAR1r_lQ2dO2mdTk7imgJGyOqIyceJYVHRlr-A6tbLtTsR-eGxHJc6Ky7mKA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น