วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

เปิดบริษัทใหม่ ธุรกิจร้านสะดวกซัก จดทะเบียนนิติบุคคล จดภาษีมูลค่าเพิ่ม อยากทราบกรณี ออกใบกำกับภาษีมีแนวทางต้องออกแบบไหน และรายงานภาษีขายจะลงชื่อผู้รับบริการเป็นอะไรได้บ้างค่ะ

Inbox: อังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 09:10 น.
คุณ Sugon Too Sugon Wansa
สวัสดีค่ะอาจารย์
เรียน สอบถามค่ะ
....เปิดบริษัทใหม่ ธุรกิจร้านสะดวกซัก จดทะเบียนนิติบุคคล จดภาษีมูลค่าเพิ่ม อยากทราบกรณี ออกใบกำกับภาษีมีแนวทางต้องออกแบบไหน และรายงานภาษีขายจะลงชื่อผู้รับบริการเป็นอะไรได้บ้างค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีบริษัทฯ เปิดใหม่ ประกอบกิจการ “สะดวกซัก” จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่นนี้ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมากตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะ ขายปลีกหรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ให้เป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
1. บริษัทฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ ผู้รับบริการเรียกร้องใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ก็ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการการให้บริการทุกครั้งที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้อง พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีดังกล่าว ให้แก่ผู้ผู้รับบริการ
2. การลงรายการในรายงาน
....(1) กรณีออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากรที่ไม่มีลักษณะเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ทุกครั้งที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้ลงรายการเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับหรือพึงได้รับ ซึ่งเกิดจากใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากรที่ไม่มีลักษณะเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปนั้น และให้ลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีอย่างย่อหรือใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร โดยจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
........(ก) ไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการและรายการสินค้าหรือบริการ และต้องแยกจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากมูลค่าสินค้าหรือบริการ โดยจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องสัมพันธ์กับมูลค่าสินค้าหรือบริการ
........(ข) กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ โดยระบุในช่อง เลขที่/เล่มที่ ของใบกำกับภาษี ว่า “ เล่มที่... เลขที่...ถึงเลขที่...”
........(ค) กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อโดยไม่ได้ออกเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ โดยระบุในช่องเลขที่/เล่มที่ ของใบกำกับภาษี ว่า “ เลขที่...ถึงเลขที่...”
....(2) กรณีต้องจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ทุกครั้งที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้ลงรายการตามมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับหรือพึงได้รับซึ่งเกิดจากใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 หรือใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากรเฉพาะที่มีลักษณะเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เป็นรายใบกำกับภาษี และให้ลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี
....ทั้งนี้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น