วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

ที่ทั้ง 2 แปลงไม่ได้ตัดออกจากงบการเงิน ทำการตรวจทะเบียนทรัพย์สินจึงทราบว่า ที่ดินได้มีการขายออกไปแล้ว จึงทำการปรับปรุงงบการเงิน ปี 2561 ตั๊กเลยอยากทราบว่า ตั้๊กต้องทำการยื่น ภ.ง.ด.50 เพิ่มเติม ปีไหนบ้างค่ะ

Inbox: ศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 21:35 น.
คุณ ศุชัญญา จั่นเพชร
สวัสดีค่ะ อาจารย์
พอดี ตั๊กมีขอสงสัยนะค่ะ ว่า บจ. มีที่ดิน 4 แปลง พร้อมบ้าน ตั้งแต่ ปี 2549 จดในรูปบริษัท ลงงบการเงิน คิดค่าเสื่อมแบบปกติ บ้านรวมที่ดิน ราคา 500,000 ทุกแปลง รวมบ้านที่ดิน 2,000,000 บาท ปี 2554 ขายที่ดิน ออก 1 แปลง มาปี 2557 ได้ทำการขายฝากที่ดินพร้อมบ้าน ราคา 1,000,000 บาท เวลา 6 เดือน ครบ 6 ทำการไถ่ถอน ในวันเดียวกันหลังจาก ไถ่ถอน ได้การขายฝากต่อ ในราคา 2,400,000 บาท และได้โดนยึดในปี 2558 ค่ะ โดยที่ทั้ง 2 แปลงไม่ได้ตัดออกจากงบการเงิน ทำการตรวจทะเบียนทรัพย์สินจึงทราบว่า ที่ดินได้มีการขายออกไปแล้ว จึงทำการปรับปรุงงบการเงิน ปี 2561 ตั๊กเลยอยากทราบว่า ตั้๊กต้องทำการยื่น ภ.ง.ด.50 เพิ่มเติม ปีไหนบ้างค่ะ แล้วยื่นปรับปรุง ภ.ง.ด.50 แล้ว อยากทราบต่อว่าการคำนวนเงินเพิ่ม ต้องคิดแบบไหนค่ะ (บจ.ได้รับอนุมัติ ลงบัญชีชุดเดียวไว้นะค่ะ )
ขอบคุณนะค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
กรณีบริษัทฯ มีที่ดินพร้อมบ้านจำนวน 4 แปลง ได้มาตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2549 บ้านรวมที่ดิน ราคา 500,000 ทุกแปลง รวมบ้านที่ดิน 2,000,000 บาท คำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแบบปกติ (5% ของราคาบ้านไม่รวมที่ดิน)
รอบระยะเวลาบัญชีปี 2554 บริษัทฯ ได้ขายที่ดินพร้อมบ้าน 1 แปลง
ต่อมาในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2557 ได้ทำการขายฝากที่ดินพร้อมบ้านจำนวน 2 แปลง ราคา 1,000,000 บาท เวลา 6 เดือน ครบ 6 ทำการไถ่ถอน
ในวันเดียวกันหลังจากไถ่ถอน ได้การขายฝากต่อ ในราคา 2,400,000 บาท และได้โดนยึดในปีรอบระยะเวลาบัญชีปี 2558 โดยที่ทั้ง 2 แปลงไม่ได้ตัดออกจากงบการเงิน ทำการตรวจทะเบียนทรัพย์สินจึงทราบว่า ที่ดินได้มีการขายออกไปแล้ว จึงทำการปรับปรุงงบการเงิน ปี 2561 นั้น
บริษัทฯ ต้องทำการปรับปรุงแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2557 ที่ทำการขายฝากรวม 2 ครั้ง
....ครั้งที่ 1 ขายฝากที่ดินพร้อมบ้านจำนวน 2 แปลง ราคา 1,000,000 บาท ถือว่าบริษัทฯ ได้ขายที่ดินจำนวน 2 แปลง ออกไปโดยนำมูลค่าอาคารหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาบ้าน ส่วนที่เหลือ เป็นกำไรจาการขายที่ดินพร้อมบ้าน
....ครั้งที่ 2 ขายฝากที่ดินพร้อมบ้านจำนวน 2 แปลงเดิม ราคา 2,400,000 บาท ในวันเดียวกันหลังจากไถ่ถอน ถือว่ามีกำไรอีก 1,400,000 บาท
....ให้บริษัทฯ นำกำไรจากการขายที่ดินพร้อมบ้านทั้งสองครั้งมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2557
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้รับอนุมัติตามพระราชกำหนด ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 ตามมาตรการบัญชีชุดเดียวไว้แล้ว หากบริษัทฯ จะไม่ทำการปรับปรุงแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2557 ก็ย่อมเป็นสิทธิของบริษัทฯ เพียงแต่ปรับปรุงกำไรสะสมสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2561 ให้ถูกต้อง เนื่องจาก กรมสรรพากรทวงถาม เฉพาะสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เท่านั้น แต่ของบริษัทฯ เป็นรายการที่เกิดขึ้นก่อนรอบระยเวลาดังกล่าว ดังนี้
....“เพื่อให้สิทธิในการได้รับยกเว้นตามพระราชกำหนดฯ ดังกล่าว เป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน ขอให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งได้จดแจ้งต่อกรมสรรพากรตามพระราชกำหนดฯ ดำเนินการยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 พร้อมชำระภาษี ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560”
(คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ตามกฎหมาย ว่าด้วยการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น