วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

สอบถามประเด็นเกียวกับการโอนกิจการดังนี้ค่ะ

Inbox: พฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 21:26 น.
คุณ IB Nungruthai
ขออนุญาตสอบถามประเด็นเกียวกับการโอนกิจการดังนี้ค่ะ
บริษัท ก โอนกิจการทั้งหมดให้กับผู้รับโอนคือบริษัท ข โดยบริษัท ก ได้ จด ภ.พ.09 เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2560 เพื่อโอนกิจการทั้งหมดวันที่ 1 พ.ย. 2560 ตามมติประชุมผู้ถือหุ้น จากนั้นโอนสินทรัพย์สุทธิให้ บริษัท ข (ผู้รับโอน) ตามสัญญาโอนกิจการว่าบริษัท ข จ่ายค่าตอบแทนการโอนให้บริษัท ก เป็นหุ้น ต่อมาบริษัท ก แจ้งเลิกเพื่อชำระบัญชีกระทรวงพาณิชย์วันที่ 28 พ.ย. 2560 (รอบบัญชี ณ วันเลิกกิจการจึงเป็นวันที่ 1 ม.ค. 2560 – 28 พ.ย. 2560) ซึ่งบริษัท ก ได้รับค่าตอบแทนเป็นหุ้นตามที่ตกลงกัน
1. สอบถามว่า กรณีการแจ้งโอนกิจการตามแบบ ภ.พ.09 ในวันที่ 3 ต.ค. 2560 เพื่อโอนกิจการในวันที่ 1 พ.ย. 2560 บริษัทฯ ต้องแจ้งเลิกที่กระทรวงพาณิชย์ในวันที่ 1 พ.ย. 2560 ด้วยหรือไม่
2. การดำเนินการโอนกิจการดังกล่าวถูกต้อง และได้สิทธิยกเว้นภาษีทางประมวลรัษฎากรหรือไม่
ขอบคุณค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
บริษัท ก โอนกิจการทั้งหมดให้กับผู้รับโอนคือบริษัท ข โดยบริษัท ก ได้ จด ภ.พ.09 เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2560 เพื่อโอนกิจการทั้งหมดวันที่ 1 พ.ย. 2560 ตามมติประชุมผู้ถือหุ้น จากนั้นโอนสินทรัพย์สุทธิให้ บริษัท ข (ผู้รับโอน) ตามสัญญาโอนกิจการว่าบริษัท ข จ่ายค่าตอบแทนการโอนให้บริษัท ก เป็นหุ้น ต่อมาบริษัท ก แจ้งเลิกเพื่อชำระบัญชีกระทรวงพาณิชย์วันที่ 28 พ.ย. 2560 (รอบบัญชี ณ วันเลิกกิจการจึงเป็นวันที่ 1 ม.ค. 2560 – 28 พ.ย. 2560) ซึ่งบริษัท ก ได้รับค่าตอบแทนเป็นหุ้นตามที่ตกลงกัน นั้น
1. กรณีการแจ้งโอนกิจการตามแบบ ภ.พ.09 ในวันที่ 3 ต.ค. 2560 เพื่อโอนกิจการในวันที่ 1 พ.ย. 2560 บริษัทฯ ไม่จำเป้นต้องแจ้งเลิกที่กระทรวงพาณิชย์ในวันที่ 1 พ.ย. 2560 ด้วย เพราะเป็นคนละกฏหมายกัน แต่หากทำได้ก็จะเป็นการดีกว่า
2. การดำเนินการโอนกิจการดังกล่าว ต้องดำเนินการตามมาตรา 5 โสฬส และมาตรา 5 สัตตรส แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 330) พ.ศ. 2541 และพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 542) พ.ศ. 2555 จึงจะได้สิทธิยกเว้นภาษีทางประมวลรัษฎากร ดังนี้
....“มาตรา 5 โสฬส ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ เฉพาะการโอนอสังหาริมทรัพย์อันเนื่องมาจากการที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัดควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(ดูประกาศอธิบดีฯ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน)
(ดูประกาศอธิบดีฯ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน (ฉบับที่ 3))
....มาตรา 5 สัตตรส ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทสำหรับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน โดยโอนหุ้นเพื่อแลกกับหุ้นในบริษัทใหม่อันได้ควบเข้ากันหรือบริษัทผู้รับโอนกิจการทั้งหมด ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนและการโอนหุ้นที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับการควบเข้ากันหรือการโอนกิจการทั้งหมดการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด”
(ดูประกาศอธิบดีฯ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน)
(ดูประกาศอธิบดีฯ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน (ฉบับที่ 3))

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น