วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

รายจ่ายที่เกิดจาก ไม่รับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 โดยบริษัทจะให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการตามโครงการที่บริษัทฯ จัดขึ้น

Inbox: พุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 15:45 น.
คุณ Prite Rata
เรียน สอบถามอาจารย์สุเทพที่เคารพ ดังนี้ค่ะ
บริษัทฯ ได้ยื่นเรื่องขอใช้สิทธิตามมาตรา 35 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 คือไม่รับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 โดยบริษัทจะให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการตามโครงการที่บริษัทฯ จัดขึ้นโดยได้รับอนุมัติให้ใช้สิทธิดังกล่าวจากสำนักจัดหางานกรุงเทพ เขตพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ซึ่งบริษัทฯ ได้ดำเนินการทำโครงการติดตั้งระบบ CALL CENTER แก่มูลนิธิหนึ่งที่ต่างจังหวัด เพื่อวัตถุประสงค์ ในการพัฒนาความรู้ ทักษะในการประกอบอาชีพการให้บริการแก่คนพิการเพื่อให้สามารถใช้ในการประกอบอาชีพได้จริง
ปัญหาคือ
1. บริษัท ฯ สามารถนำรายจ่ายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้กี่เท่า ค่ะ เพราะอ่านข้อกฎหมายตาม พรฎ. 214 ข้อ3(2) ยกเว้นภาษีสำหรับงินได้เป็นร้อยละร้อยของรายจ่ายฯ ก็คือ หักได้ 2 เท่า
2. แต่ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 156/2561 ข้อ 3. และข้อ 4.(7) แล้ว เหมือนว่าจะหักได้ตามที่จ่ายจริง( 1 เท่า) เท่านั้น
ขอเรียนปรึกษาอาจารย์ด้วยน่ะค่ะ
ขอบพระคุณมากค่ะ
เพิ่มเติมนิดนึงค่ะอาจารย์ บริษัทฯ ไม่มีรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาแต่อย่างใดค่ะ
สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วิสัชนา:
ถือเป็นรายจ่ายได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง (1 เท่า) เท่านั้น ตามข้อ 3 และข้อ 4 (7) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 156/2561

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น